หน่วย พิพิธภัณฑ์ของเล่น

เป้าหมาย (Understanding Goal)
นักเรียนเห็นคุณค่าของของเล่น /การละเล่น / ธรรมชาติและสิ่งต่างๆรอบตัว อีกทั้งยังสามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้ เช่น การนำเอาวัสดุจากธรรมชาติรอบตัวมาประดิษฐ์เป็นของเล่นได้ พร้อมทั้งรู้จักเลือกเล่น/เล่นของเล่นให้เหมาะสมกับตนเอง เรียนรู้วิธีการเล่นให้ปลอดภัย

วันเสาร์ที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

Mind mapping


 Mindmapping



หน่วย พิพิธภัณฑ์ของเล่น




หน่วย : พิพิธภัณฑ์ของเล่น
คำถามหลัก ( Big  Question  ) : นักเรียนจะสามารถนำวัสดุที่มีอยู่รอบตัวมาประดิษฐ์ของเล่นได้อย่างไร?
                                                      นักเรียนมีวิธีการเลือกเล่นและเล่นของเล่นอย่างไรให้ปลอดภัย?


ภูมิหลังของปัญหา :    ในปัจจุบันของเล่นเด็กมักเป็นของเล่นที่ผลิตมาจากโรงงานที่มีสีสันสวยสะดุดตา มีรูปร่างรูปทรงที่หลากหลาย ดึงดูดความสนใจเด็ก  มีทั้งแบบมาตรฐานคุณภาพและไม่มีมาตรฐานคุณภาพรองรับ (ม...)  ทำให้เกิดภัยเงียบที่แอบแฝงมากับของเล่นที่สร้างความสุขสนุกสนานให้กับเด็ก เช่น สารเคมีพาทาเลต (phthalates ), สารตะกั่ว, โลหะ และสี   ซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพร่างกาย  ทำลายเซลล์ประสาท/ ระบบทางเดินหายใจ  ทำให้พัฒนาการล่าช้า สมาธิสั้น ระดับสติปัญญาต่ำลง พฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรง หรืออาจส่งผลให้เกิดโรคมะเร็งได้  อีกทั้งส่งผลให้เกิดภาวะโลกร้อนจากขยะของเล่นที่เลิกเล่นแล้ว 
          จากปัญหาที่พบ  นักเรียน ครู  ผู้ปกครองเกิดความเข้าใจ และตระหนักถึงความสำคัญของของเล่น/การเล่น รวมถึงกระบวนการออกแบบสิ่งประดิษฐ์ของเล่นจากธรรมชาติและวัสดุเหลือใช้ เพื่อส่งเสริมพัฒนาการทั้งสี่ด้านของนักเรียนได้อย่างเหมาะสมกับช่วงวัย  พร้อมทั้งเรียนรู้วิธีการเลือกของเล่น /เล่น ของเล่นให้ปลอดภัย 


เป้าหมายของความเข้าใจ (Understanding Goal) : นักเรียนเห็นคุณค่าของของเล่น /การละเล่น
 / ธรรมชาติและสิ่งต่างๆรอบตัว   อีกทั้งยังสามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้ เช่น การนำเอาวัสดุจากธรรมชาติรอบตัวมาประดิษฐ์เป็นของเล่นได้ พร้อมทั้งรู้จักเลือกเล่น/เล่นของเล่นให้เหมาะสมกับตนเอง เรียนรู้วิธีการเล่นให้ปลอดภัย



   ปฏิทินการจัดกิจกรรมการเรียนรู้บูรณาการ PBL (Problem Based Learning)  
   หน่วย : พิพิธภัณฑ์ของเล่น ”    
    ระดับชั้นอนุบาลปีที่ 2   ภาคเรียนที่ 2  (Quarter 4 )  ปีการศึกษา  2558

Week
Input
Process
Output
Outcome
1

11 - 15 .. 59
โจทย์ :
- สร้างแรงบันดาลใจ
- สร้างฉันทะในการเรียนรู้
เครื่องมือคิด
Key  Question
- สิ่งมีชีวิตกับสิ่งที่ไม่มีชีวิตมีลักษณะที่เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
?
-ของเล่นเป็นสิ่งมีชีวิตหรือไม่?
- จะสามารถนำอะไรที่อยู่ในโรงเรียนมาทำเป็นของเล่นได้บ้าง?
-จะเล่นของเล่นแต่ละชิ้นอย่างไรให้ปลอดภัย?
- สัตว์ เช่นสุนัขหรือแมวจะเล่น
ของเล่นเหมือนหรือต่างกับเรา อย่างไร?
Blackboard Share :
Show and Share :
Wall Thinking
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
- ครู
- นักเรียน
สื่อและแหล่งเรียนรู้ :
บรรยากาศภายในห้องเรียน
- นิทาน
- คลิปวีดิโอ
กิจกรรม :
- นักเรียนดูคลิปวีดิโอการ์ตูนเรื่องโดเรม่อน ตอนเมืองของเล่น
- ครูและนักเรียนเดินสำรวจของเล่นรอบบริเวณโรงเรียนรวมทั้งสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิต 
- นักเรียนประดิษฐ์ของเล่น “กงจักร
นักเรียนทดลองเล่น “กงจักร
-ครูเล่านิทานเรื่องของเล่นของคุณตา”    
 - ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาทบทวนกิจกรรมที่ผ่านมาทั้งสัปดาห์และแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นในการทำกิจกรรมร่วมกัน

ภาระงาน
เดินสำรวจและพูดคุยเกี่ยวกับสิ่งที่เห็นรอบๆโรงเรียน  
-สนทนาแลกเปลี่ยนประสบการณ์เกี่ยวกับของเล่น
 - Show and Share สรุปกิจกรรมการเรียนรู้ตลอดทั้งสัปดาห์
ชิ้นงาน
วาดภาพระบายสีของเล่นที่พบเห็นในโรงเรียน
-ประดิษฐ์ของเล่น “กงจักร”  
- ใบงานเขียน Wep   เชื่อมโยงสิ่งมีชีวิต/ไม่มีชีวิตกับของเล่น
-ใบงานแตก Web การเล่น/ทำกงจักร
ความรู้ :
- นักเรียนเข้าใจ และสามารถอธิบายเกี่ยวกับสิ่งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิตได้ อีกทั้งยังสามารถบอกเกี่ยวกับสิ่งที่ตนเองอยากเรียนรู้พร้อมให้เหตุผลได้
ทักษะ :
** ทักษะชีวิต
** ทักษะการคิด
** ทักษะการสื่อสาร
** ทักษะการสังเกต
** ทักษะการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
**ทักษะการอยู่ร่วมกันกับผู้อื่น
คุณลักษณะ
 - มีความรับผิดชอบและมุ่งมั่นในการทำงาน
- กระตือรือร้นในการเรียนรู้
   - มีจิตอาสาในการทำกิจกรรมต่างๆ มีน้ำใจช่วยเหลือ แบ่งปัน 
   - ยินดีและพอใจในสิ่งที่ตนเองมี เคารพสิทธิซึ่งกันและกันเคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่น
ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
2

18 - 22
ม.ค.59


โจทย์ :
-  การวางแผนการเรียนรู้
เครื่องมือคิด
Key  Question
นักเรียนจะออกแบบแผนการเรียนรู้ในQ.4
 อย่างไรให้มีความสุข ?
นักเรียนรู้อะไรบ้างเกี่ยวกับของเล่น
-นักเรียนอยากเรียนรู้อะไรเกี่ยวกับ “ของเล่น” ?
Brainstorms :
Card  and  Chart  :
 Show and Share :
  - นำเสนอชิ้นงาน
Blackboard Share :
 Wall Thinking
 - ติดชิ้นงาน
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
- ครู
- นักเรียน
สื่อและแหล่งเรียนรู้  :
- บรรยากาศภายในห้องเรียน
นิทาน

กิจกรรม :
- ครูเล่านิทานเรื่อง “ของขวัญจากคุณพ่อ”
- นักเรียนระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ตนเองอยากเรียนรู้ และร่วมกันสรุปสิ่งที่อยากเรียนรู้และนำเสนอชื่อเรื่องที่น่าสนใจ
- นักเรียนวาดรูปสิ่งที่รู้แล้วและอยากเรียนรู้เพิ่มเกี่ยวกับของเล่น
- ครูเล่านิทานเรื่องคนจิ๋วตัวเล็กกับของชิ้นใหญ่
-นักเรียนทดลองทำแป้งโดว์
 -นักเรียนร่วมกันสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้มาทั้งสัปดาห์ โดยปั้นแป้งโดว์เรื่องที่อยากเรียนรู้เป็นกลุ่ม
-ใบงานแตก  Web การทดลองทำแป้งโดว์
- ปั้นแป้งโดว์เรื่องที่อยากเรียนรู้เป็นกลุ่ม

ภาระงาน
ระดมความคิดในการจัดกลุ่มความสนใจที่นักเรียนอยากเรียนรู้
พูดคุยเกี่ยวกับสิ่งที่ตนเองอยากเรียนรู้และตั้งชื่อหน่วย
-ประดิษฐ์หุ่นยนต์
-นักเรียนทดลองทำแป้งโดว์
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ชิ้นงาน
- ใบงานวาดภาพและเขียนสิ่งที่ตนเองอยากเรียนรู้ และเขียนชื่อหน่วย
-วาดภาพสิ่งที่ตนเองรู้เกี่ยวกับของเล่นคนละ 1 อย่าง
-ประดิษฐ์หุ่นยนต์เป็นกลุ่ม
ความรู้ :
- นักเรียนสามารถอธิบายและตั้งคำถามเมื่อแสดงความคิดเห็น เกี่ยวกับสิ่งที่เห็น/ฟัง และบอกสิ่งที่ตนเองรู้ /อยากเรียนรู้ ได้อย่างน่าสนใจ
ทักษะ :
** ทักษะชีวิต
** ทักษะการคิด
** ทักษะการอยู่ร่วมกัน
** ทักษะการสื่อสาร
** ทักษะการสังเกต
** ทักษะการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
คุณลักษณะ - เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่น
ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
- มีความรับผิดชอบและมุ่งมั่นในการทำงาน
- กระตือรือร้นในการเรียนรู้
   - มีจิตอาสาในการทำกิจกรรมต่างๆ มีน้ำใจช่วยเหลือ แบ่งปัน 
   - ยินดีและพอใจในสิ่งที่ตนเองมี เคารพสิทธิซึ่งกันและกัน
3
25 - 29
ม.ค. 59

โจทย์ :
- ของเล่นจากวัสดุธรรมชาติ
- ส่วนประกอบต่าง ๆของพืช เช่นใบ/ ลำต้น/ ผล / เมล็ด
เครื่องมือคิด
Key  Questions
ถ้าไม่มีของเล่น นักเรียนจะนำอะไรมาเล่นได้บ้าง/เล่นอย่างไร?
ของเล่นจากธรรมชาติมีอะไรบ้าง?
นักเรียนจะเล่นอย่างไรให้ปลอดภัย? ”
-ของเล่นแต่ละชนิดมีประโยชน์อย่างไรบ้าง?
-นักเรียนมีวิธีการเก็บรักษาดูแลของเล่นอย่างไร?
Brainstorms :
Blackboard Share :
- Wall  Thinking :
 - ติดชิ้นงาน
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
- ครู
- นักเรียน
-ผู้ปกครอง
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- บรรยากาศภายในชั้นเรียน
-บรรยากาศรอบบริเวณโรงเรียน
- ครูเล่านิทาน
- เมล็ดมะค่า/เมล็ดมะขาม/เมล็ดถั่ว
กิจกรรม :
- นักเรียนเล่น หมากเก็บเมล็ดมะค่า
- สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้เกี่ยวกับการเล่นหมากเก็บเมล็ดมะค่า
- นักเรียนเล่น“อีตัก”
สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้เกี่ยวกับการเล่น อีตัก
- นักเรียนร่วมกันเล่น “กำทาย”
 - สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้เกี่ยวกับการ เล่นกำทาย
 - นักเรียนทำของเล่นพื้นบ้าน เช่น ปืน  ม้าก้านกล้วย การละเล่นเดินกะลา
- ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปกิจกรรมที่ทำร่วมกันมาทั้งสัปดาห์

ภาระงาน
-นักเรียนกลับไปถามผู้ปกครองเกี่ยวกับของเล่นจากเมล็ดพืชมีอะไรบ้าง
-เตรียมเม็ดมะขามมาจากบ้านคนละ10 เม็ด
-เล่นหมากเก็บมะค่าแต้
เล่นอีตัก
เล่น “กำทาย
-เล่นปืน/ม้าก้านกล้วย
ชิ้นงาน
-ใบงาน เขียน Wep  การเล่น หมากเก็บเมล็ดมะค่า
-ใบงานเขียน Wep “การเล่นกำทาย
-ใบงานเขียน Wep “การเล่นอีตัก
-ของเล่น ปืนและ ม้าก้านกล้วย
ความรู้ :
นักเรียนเห็นคุณค่าของธรรมชาติ  และยังสามารถบอกเกี่ยวกับของเล่นที่มาจากธรรมชาติรวมทั้งวิธีการเล่นอย่างปลอดภัยได้
ทักษะ :
** ทักษะชีวิต
** ทักษะการคิด
** ทักษะการอยู่ร่วมกัน
** ทักษะการสื่อสาร
** ทักษะการสังเกต
**ทักษะการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
** ทักษะการอยู่ร่วมกันกับผู้อื่น
คุณลักษณะ :
-เคารพ สิทธิ หน้าที่เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่น
ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
- มีความรับผิดชอบและมุ่งมั่นในการทำงาน
- กระตือรือร้นในการเรียนรู้
 - มีจิตอาสาในการทำกิจกรรมต่างๆ มีน้ำใจช่วยเหลือ แบ่งปัน 
- ยินดีและพอใจในสิ่งที่ตนเองมี เคารพสิทธิซึ่งกันและกัน
4

1-5
ก.พ.59

โจทย์ :
ของเล่นจากวัสดุธรรมชาติ
 - ส่วนประกอบต่าง ๆของพืชหรือต้นไม้ เช่นใบ/ ลำต้น/ ผล / เมล็ด
เครื่องมือคิด
Key  Question
- นักเรียนจะสามารถออกแบบและประดิษฐ์ของเล่นจากวัสดุธรรมชาติให้มีคุณค่า/เกิดประโยชน์และเหมาะสมกับตนเองได้อย่างไร?
- นักเรียนได้เรียนรู้อะไรจากของเล่นจากไม้และวัสดุธรรมชาติ
- นักเรียนเล่นอย่างไรให้ปลอดภัย?”
-การละเล่นมีประโยชน์อย่างไรบ้าง?
-นักเรียนมีวิธีการเก็บรักษาดูแลของเล่นอย่างไรบ้าง?
Brainstorms :
Blackboard Share :
 Show and Share :
  - นำเสนอชิ้นงาน
Wall Thinking
 - ติดชิ้นงาน
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้ :
- ครู
- นักเรียน
-ผู้ปกครอง
สื่อและแหล่งเรียนรู้ :
- บรรยากาศภายใน
- บริเวณสนามกลางแจ้ง
 -ดูคลิปวีดิโอ 
-นิทาน
กิจกรรม :
นักเรียนดูคลิปวีดิโอ “ของเล่นพื้นบ้านที่ทำจากไม้” 
- ครูและนักเรียนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับคลิปของเล่นพื้นบ้านที่ทำจากไม้” 
- นักเรียนเล่น หมากเก็บไม้
- นักเรียนทำว่าวเป็นกลุ่ม
สนทนาระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาที่พบในการปะโครงสร้างว่าว
- นักเรียนทดลองเล่นว่าว
- วิทยากรผู้ปกครองอาสาพานักเรียนสานใบมะพร้าวเป็นของเล่น
 -กิจกรรมเดินทางไกล
-นักเรียนเดินทางไกล
-นักเรียนเขียนบันทึกความทรงจำในการเดินทางไกลลงสมุดบันทึกวัยเยาว์
ภาระงาน
- นักเรียนเล่นหมากเก็บไม้ไผ่
-นักเรียนเตรียมโครงสร้างว่าวมากลุ่มละ 1 ตัว และกระดาษหนังสือพิมพ์ กลุ่มละ 3 แผ่น
- ครูให้นักเรียนทุกคนเตรียมใบมะพร้าวมาคนละ 5 ใบ
- ทบทวนกิจกรรมที่ทำร่วมกันทั้งสัปดาห์
 -กิจกรรมเดินทางไกล
ชิ้นงาน
- ว่าว
-สานใบมะพร้าว
-ใบงานเขียน Web การทดลองทำ/เล่นว่าว
- ใบงานแตก Web   การสานใบมะพร้าวเป็นของเล่น
ความรู้ :
- สามารถอธิบายเกี่ยวกับของเล่นที่ทำมาจากไม้และสามารถประดิษฐ์ของเล่นเล่นได้เอง
- เรียนรู้วิธีการสืบค้นหาข้อมูลด้วยตนเอง
ทักษะ :
** ทักษะชีวิต
** ทักษะการคิด
** ทักษะการสื่อสาร
** ทักษะการสังเกต
** ทักษะการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
** ทักษะการอยู่ร่วมกันกับผู้อื่น
คุณลักษณะ :
- เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่น
ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่
- มีความรับผิดชอบและมุ่งมั่นในการทำงาน
- กระตือรือร้นในการเรียนรู้
- มีจิตอาสาในการทำกิจกรรมต่างๆ มีน้ำใจช่วยเหลือ แบ่งปัน
- ยินดีและพอใจในสิ่งที่ตนเองมี เคารพสิทธิซึ่งกันและกัน
5

8-12
.. 59


โจทย์ :
ของเล่นจากวัสดุเหลือใช้
  -กระดาษ /ขวดพลาสติก/ไม้ไอติม /แผ่น CD
 เครื่องมือคิด
Key  Questions
- นักเรียนจะสามารถออกแบบและประดิษฐ์ของเล่นจากวัสดุเหลือใช้ให้มีคุณค่า มีประโยชน์และเหมาะสมกับตนเองอย่างไร?
- นักเรียนได้เรียนรู้อะไรจากของเล่นที่ทำจากวัสดุเหลือใช้
- นักเรียนสามารถนำวัสดุเหลือใช้ไปประดิษฐ์ของเล่นอะไรได้บ้าง
?
- นักเรียนมีข้อควรระวังในการเล่นของเล่นอย่างไร?

-นักเรียนจะเลือกเล่นของเล่นอย่างไรให้เหมาะกับตนเอง?
Brainstorms :
Blackboard  Share :
Show and Share :
- นำเสนอชิ้นงาน
Wall Thinking :
ติดชิ้นงาน
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
- ครู
- นักเรียน
-ผู้ปกครอง
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- บรรยากาศภายในชั้นเรียน
-บรรยากาศภายนอกชั้นเรียน
กิจกรรม  : 
-นักเรียนพับจรวด/ จี้จั้บ
- ทดลองร่อนจรวด
- นักเรียนประดิษฐ์ และทดลองเล่น“รถถัง” 
- นักเรียนทดลองทำและเล่นลูกข่างจากแผ่นCD
-สนทนาสรุปสิ่งที่สังเกตพบเกี่ยวกับการเล่นลูกข่างจากแผ่นC.D.
 - นักเรียนประดิษฐ์ และทดลองเล่นขวดหนังสะติ๊ก
- สนทนาสรุปสิ่งที่สังเกตพบเกี่ยวกับการเล่นขวดหนังสะติ๊ก
- ทบทวนสิ่งที่เรียนรู้ทั้งสัปดาห์
 - นักเรียนนำเสนอชิ้นงานเป็นกลุ่ม
ภาระงาน
ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับขั้นตอนการพับสิ่งที่สังเกตเห็นและปัญหาที่พบในการพับและทดลองร่อนจรวด
- ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับขั้นตอนการทำ/วิธีการเล่น/ปัญหาที่พบและสิ่งที่สังเกตเห็นในการทดลองขวดหนังสะติ๊ก
-นักเรียนเตรียมไม้ไอติมมาทำรถถัง
-นักเรียนเตรียมแผ่น CD มาทำลูกข่าง
-นักเรียนเตรียมขวดน้ำพลาสติกมาทำหนังสะติ๊ก
ชิ้นงาน
-พับจรวด/พับจี้จั้บ
-ลูกข่างจากแผ่นซีดี
หนังสะติ๊กจากขวดน้ำ
- รถถังจากไม้ไอติม
ใบงานแตก Wep  ขั้นตอนการทำ/วิธีการเล่น/ปัญหาที่พบและสิ่งที่สังเกตเห็นในการทดลองเล่นขวดหนังสะติ๊ก

ความรู้ :
นักเรียนสามารถถ่ายทอดความเข้าใจผ่านการประดิษฐ์ของเล่นแบบต่าง ๆ  และสามารถนำวัสดุในท้องถิ่นและวัสดุเหลือใช้มาประดิษฐ์ของเล่นได้อย่างหลากหลาย
ทักษะ :
** ทักษะชีวิต
** ทักษะการคิด
** ทักษะการอยู่ร่วมกัน
** ทักษะการสื่อสาร
** ทักษะการสังเกต
** ทักษะการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
คุณลักษณะ :
- เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่น
ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
- มีความรับผิดชอบและมุ่งมั่นในการทำงาน
- กระตือรือร้นในการเรียนรู้
- มีจิตอาสาในการทำกิจกรรมต่างๆ มีน้ำใจช่วยเหลือ แบ่งปัน 
- ยินดีและพอใจในสิ่งที่ตนเองมี เคารพสิทธิซึ่งกันและกัน
6

15 – 19
ก.พ. 59

โจทย์ : 
ของเล่นจากวัสดุสังเคราะห์
-หนังยาง
- ตัวการ์ตูนยาง
-ลูกบอลพลาสติก
-ลูกโป่ง
เครื่องมือคิด
Key  Questions
นักเรียนจะออกแบบการเล่นอย่างไร?
นักเรียนมีข้อควรระวังในการเล่นอย่างไร?
- นักเรียนมีวิธีการดูแลเก็บรักษาของเล่นอย่างไร?
- ของเล่นจากวัสดุธรรมชาติ / วัสดุเหลือใช้ /วัสดุสังเคราะห์ มีความแตกต่างกันอย่างไร?
 Brainstorms :
Blackboard  Share : 
Show and Share :
 - นำเสนอชิ้นงาน
Wall Thinking
 - ติดชิ้นงาน
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
- ครู
- นักเรียน
-ผู้ปกครอง
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- บรรยากาศภายในชั้นเรียน
-บรรยากาศภายนอกชั้นเรียน
 -หนังยาง/ตัวการ์ตูนยาง
-ลูกบอลพลาสติก
-ลูกโป่ง
กิจกรรม :
- เล่นเป่ากบ
-ออกแบบการเล่นหนังยางที่หลากหลายรุ)แบบ
 -เล่นทอยเส้นตัวการ์ตูน
-เล่นตีก้อปลงหลุม
-สนทนาสิ่งที่ได้เกี่ยวกับการละเล่น “เป่ากบ” / “เล่นทอยเส้น ตัวการ์ตูนยาง”  / “ตีก้อปลงหลุม”
-ทดลองทำรถแข่งพลังลูกโป่ง
- สนทนาระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับการทดลองประดิษฐ์และทดลองเล่นรถแข่งพลังลูกโป่ง
- สนทนาระดมความคิดเกี่ยวกับความแตกต่างกัน  ระหว่างของเล่นจากธรรมชาติ / ของเล่นที่ทำจากวัสดุเหลือใช้  และของเล่นสังเคราะห์

ภาระงาน
- ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับการทดลองประดิษฐ์และทดลองเล่นรถแข่งพลังลูกโป่ง
- ระดมความคิดออกแบบวิธีการเล่นหนังยางเป็นกลุ่ม

- เล่นทอยเส้นตัวการ์ตูนยาง
เล่นเป่ากบเป็นคู่
- นักเรียนเล่นตีก้อปลงหลุม
ชิ้นงาน
-ใบงานเขียน Wep  ความแตกต่างของ ของเล่นจากธรรมชาติ  ของเล่นจากวัสดุเหลือใช้และของเล่นสังเคราะห์
-รถแข่งพลังลูกโป่ง

ความรู้ :
นักเรียนสามารถเรียนรู้วิธีการเล่นที่หลากหลาย / เล่นอย่างปลอดภัย /รู้จักการเก็บรักษาดูแลของเล่น อีกทั้งยังสามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้
ทักษะ :
** ทักษะชีวิต
** ทักษะการคิด
** ทักษะการอยู่ร่วมกัน
** ทักษะการสื่อสาร
** ทักษะการสังเกต
** ทักษะการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
คุณลักษณะ :
- เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่น
ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
- มีความรับผิดชอบและมุ่งมั่นในการทำงาน
- กระตือรือร้นในการเรียนรู้
 - มีจิตอาสาในการทำกิจกรรมต่างๆ มีน้ำใจช่วยเหลือ แบ่งปัน
 - ยินดีและพอใจในสิ่งที่ตนเองมี 
7

22 - 26
ก.พ.59



โจทย์ :
- การละเล่นพื้นบ้าน 4 ภาค
เครื่องมือคิด
Key  Questions
-การละเล่นพื้นบ้านแต่ละภาคมีอะไรบ้างและมีความแตกต่างกันอย่างไร?
Brainstorms :
Blackboard  Share : 
Show and Share :
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
- ครู
- นักเรียน
-ผู้ปกครอง
สื่อและแหล่งเรียนรู้
-บรรยากาศภายในห้องเรียน
-สนามกลางแจ้ง
- เศษกระเบื้อง
-ผ้ามัดให้กลมๆ
-ผ้าผูกตา


กิจกรรม :
- ดูคลิปการละเล่นพื้นบ้าน 4ภาค
- สนทนาระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับคลิปVDO ที่ดู
-สนทนาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการละเล่นของภาคเหนือ 
- เล่นการละเล่นพื้นบ้า “โพงพาง”
- ครูและนักเรียนสนทนาเกี่ยวกับการละเล่นของภาคอีสาน
-เล่นโยนเบี้ยกระโดด
- เล่น “ม้าหัวโปก”
- สนทนาสรุปเกี่ยวกับกิจกรรมการละเล่นที่ได้เล่นมาทั้งสัปดาห์
-นักเรียนเขียน Web เกี่ยวกับกิจกรรมการละเล่นที่ผ่านมาทั้งสัปดาห์ รวมถึงวิธีการเล่น/ข้อควรระวังในการเล่นการละเล่นต่างๆ
ภาระงาน
- ดูและสนทนาคลิปการละเล่นพื้นบ้าน  4 ภาค
-เล่นการละเล่น  โพงพาง
-เล่นกาลละเล่น ม้าหัวโปก
-เล่นเบี้ยกระโดด
ชิ้นงาน
- ใบงานแตก Web   การละเล่นพื้นบ้าน 4 ภาค
- ใบงานแตก Web กิจกรรมการเล่นที่ผ่านมาทั้งสัปดาห์/ วิธีการเล่น/ข้อควรระวังในการเล่นการละเล่นต่างๆ
ความรู้ :
-นักเรียนสามารถเรียนรู้เข้าใจถึงประโยชน์ และข้อควรระวัง ในการเล่นของเล่น และสามารถนำความรู้ไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้  เช่น รู้จักเลือกเล่นของเล่นที่เหมาะสมกับตนเอง
ทักษะ :
** ทักษะชีวิต
** ทักษะการคิด
** ทักษะการอยู่ร่วมกัน
** ทักษะการสื่อสาร
** ทักษะการสังเกต
** ทักษะการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
คุณลักษณะ :
- เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่น
ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
- มีความรับผิดชอบและมุ่งมั่นในการทำงาน
- กระตือรือร้นในการเรียนรู้
   - มีจิตอาสาในการทำกิจกรรมต่างๆ มีน้ำใจช่วยเหลือ แบ่งปัน 
   - ยินดีและพอใจในสิ่งที่ตนเองมี เคารพสิทธิซึ่งกันและกั
8


29 ก.พ.
-
 4  มี.ค.
59

โจทย์ :
- การละเล่นพื้นบ้าน 4 ภาค
เครื่องมือคิด
Key  Questions
-การละเล่นพื้นบ้านแต่ละภาคมีอะไรบ้างและมีความแตกต่างกันอย่างไร?
- ถ้าไม่มีอุปกรณ์ หรือของเล่นจะออกแบบการเล่นได้อย่างไร?
Brainstorms :
Blackboard  Share :
Show and Share :
 -นำเสนอชิ้นงาน
Wall  Thinking :
 - ติดชิ้นงาน
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
- ครู
- นักเรียน
-ผู้ปกครอง
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- บรรยากาศภายในชั้นเรียน
- บริเวณสนามกลางแจ้ง
- วงล้อไม้ไผ่ /ล้อรถ
- เชือก
-เล่นขว้างราว (ขวดยาคูล /ก้อนหิน และไม้ไผ่เป็นแผ่นขนาดกว้าง 2 นิ้ว ยาว 30 ซ.ม.
กิจกรรม :
- เล่น “ตีลูกล้อ”
- ท่องคำคล้องจอง “การละเล่นไทย”
 - เล่นตี่จั้บ
- ท่องคำคล้องจอง จ้ำจี้ /บ้านทรายทอง / ยาหย่าย่า
- สนทนาระดมความคิดออกแบบการเล่น ที่ไม่ต้องใช้อุปกรณ์ 
- สนทนาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการละเล่นของเด็กภาคใต้ / ภาคกลาง
-เล่นขว้างราว
- สนทนาทบทวนกิจกรรมที่ผ่านมาทั้งสัปดาห์  และสนทนาระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับความเหมือนและความแตกต่างของการละเล่นทั้ง 4 ภาค

ภาระงาน
-สนทนาเกี่ยวกับการละเล่นพื้นบ้านของภาคกลาง และภาคใต้และภาคกลาง
-เล่น “ขว้างราว”
 - เล่น ตีลูกล้อ
- เล่น “ ตี่จั้บ ”
 - นำเสนอการละเล่นที่ไม่ต้องใช้อุปกรณ์ กลุ่มละ 1 อย่าง
ชิ้นงาน
-นักเรียนแตก Web การละเล่นที่ไม่ใช้อุปกรณ์
- นักเรียนแตก Web เกี่ยวกับความเหมือนและความแตกต่างของการละเล่นทั้ง 4 ภาค
ความรู้ :
- นักเรียนสามารถนำความรู้ไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้ /มีลักษณะนิสัยที่ดีมีระเบียบวินัยในการจัดเก็บรักษา ดูแลของเล่นของใช้ ได้เหมาะสมตามวัย
ทักษะ :
** ทักษะชีวิต
** ทักษะการคิด
** ทักษะการอยู่ร่วมกัน
** ทักษะการสื่อสาร
** ทักษะการสังเกต
** ทักษะการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
คุณลักษณะ :
- เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่น
ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่
- มีความรับผิดชอบและมุ่งมั่นในการทำงาน
- กระตือรือร้นในการเรียนรู้
   - มีจิตอาสาในการทำกิจกรรมต่างๆ มีน้ำใจช่วยเหลือ แบ่งปัน 
   - ยินดีและพอใจในสิ่งที่ตนเองมี เคารพสิทธิซึ่งกันและกัน

9

7 -11
มี.ค. 59

โจทย์ :
เตรียมสรุปองค์ความรู้หลังเรียน
เครื่องมือคิด
Key  Questions?
-   นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้างใน Quarter นี้?
- นักเรียนจะเผยแพร่องค์ความรู้ หน่วยการเรียนรู้พิพิธภัณฑ์ของเล่นให้ผู้อื่นร่วมเรียนรู้อย่างไร ?
Brainstorms :
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
- ครู
- นักเรียน
-ผู้ปกครอง
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- บรรยากาศภายในชั้นเรียน
-บรรยากาศภายนอกชั้นเรียน

กิจกรรม :
- ทบทวนกิจกรรมของสัปดาห์ที่ผ่านมาเกี่ยวกับของเล่นที่ทำจากวัสดุต่างๆ
-ครูสนทนาแลกเปลี่ยนทบทวนกิจกรรมที่ได้ทำใน Quarter นี้และความรู้ที่ได้เรียนรู้ตลอด Quarter ที่ผ่านมา
-นักเรียนสรุปองค์ความรู้เป็นการ์ตูนช่อง
 -ครูให้นักเรียนแต่ละกลุ่ม ช่วยกันวางแผนออกแบบการ นำเสนอสิ่งที่ได้เรียนรู้ใน Quarter 4
- นักเรียนแต่ละกลุ่มสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับรูปแบบการนำเสนอเพื่อให้การนำเสนอหรือการแสดงดูน่าสนใจมากขึ้น
ภาระงาน
-ทบทวนกิจกรรมของสัปดาห์ที่ผ่านมาเกี่ยวกับของเล่นที่ทำจากวัสดุต่างๆ
- นักเรียนแต่ละกลุ่มวางแผนออกแบบวิธีการการนำเสนอองค์ความรู้ของกลุ่มตนเอง
-นักเรียนสาธิตรูปแบบการนำเสนอองค์ความรู้ในรูปแบบของกลุ่มตน
- นักเรียนแต่ละกลุ่มสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับรูปแบบการนำเสนอเพื่อให้การนำเสนอหรือการแสดงดูน่าสนใจมากขึ้น
ชิ้นงาน
-ใบงานสรุปองค์ความรู้เป็นการ์ตูนช่อง
ความรู้ :
-นักเรียนเข้าใจและสามารถสรุปองค์ความรู้เกี่ยวกับเรื่องที่เรียนรู้ในหน่วยพิพิธภัณฑ์ของเล่นได้  อีกทั้งยังสามารถวางแผนถ่ายทอดองค์ความรู้ที่เรียนมาในQ. 4 ให้ผู้อื่นได้ร่วมเรียนรู้เพื่อสะท้อนแง่มุมของการเล่นที่หลากหลาย
- นำสิ่งที่เรียนรู้ไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และนำไปปรับใช้ได้จริงในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสม
ทักษะ :
** ทักษะชีวิต
** ทักษะการคิด
** ทักษะการสื่อสาร
** ทักษะการสังเกต
** ทักษะการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
** ทักษะการอยู่ร่วมกันกับผู้อื่น
คุณลักษณะ :
- เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่น
ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
- มีความรับผิดชอบและมุ่งมั่นในการทำงาน
- กระตือรือร้นในการเรียนรู้
- มีจิตอาสาในการทำกิจกรรมต่างๆ มีน้ำใจช่วยเหลือ แบ่งปัน 
- ยินดีและพอใจในสิ่งที่ตนเองมี เคารพสิทธิซึ่งกันและกัน
10

14 – 18
มี.ค. 59

โจทย์ :
สรุปองค์ความรู้
เครื่องมือคิด
Key  Questions
- นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้างเกี่ยวกับหน่วยพิพิธภัณฑ์ของเล่น” ?
- นักเรียนจะเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับหน่วย พิพิธภัณฑ์ของเล่น” ?ให้ผู้อื่นเข้าใจได้อย่างไร ?
Brainstorms :
Wall    Thinking:                  
Show and Share :
นำเสนอสรุปองค์ความรู้
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
- ครู
- นักเรียน
-ผู้ปกครอง
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- บรรยากาศภายในชั้นเรียน
-บรรยากาศรอบบริเวณอาคารอนุบาล
-คำคล้องจอง “การละเล่นไทย”


กิจกรรม :
-นักเรียนท่องคำคล้องจอง “การละเล่นไทย”
- ร่วมกันสนทนาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับกิจกรรมการละเล่นไทยแต่ละภาคที่ได้เล่นและเรียนรู้ผ่านมา มาทั้ง Quarter
-นักเรียนวาดภาพขนาด A3 สรุปองค์ความรู้เกี่ยวกับการละเล่นไทยสี่ภาคเป็นกลุ่ม
-ครูและนักเรียนแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบฐานการละเล่นโดยให้ผู้ปกครองร่วมดูแลฐานต่างๆ ตามกลุ่มของลูก
- นักเรียนแต่ละกลุ่มซ้อมการแสดงของตนเอง
- นักเรียน /ครู / ผู้ปกครอง / ร่วมกิจกรรมสรุปองค์ความรู้ใน   Quarter 4 / 58   และ เล่นการละเล่นพื้นบ้านตามฐานการเรียนรู้ต่าง ๆร่วมกัน

ภาระงาน
- ร่วมกันสนทนาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับกิจกรรมการละเล่นไทยแต่ละภาคที่ได้เล่นและเรียนรู้ผ่านมา มาทั้ง Quarter
- ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมสรุปองค์ความรู้ที่ได้เรียนรู้เกี่ยวกับหน่วย “พิพิธภัณฑ์ของเล่น
ชิ้นงาน
-นักเรียนแตก Web  เกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้ร่วมกันในทั้งQuarter 4 / 58
-ใบงาน วาดภาพขนาด A3 สรุปองค์ความรู้เกี่ยวกับการละเล่นไทยสี่ภาคเป็นกลุ่ม
ความรู้ :
- นักเรียนสามารถพูดอธิบายและถ่ายทอดเกี่ยวกับสิ่งที่เรียนรู้ได้ พร้อมทั้งสามารถนำความรู้ไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสม
ทักษะ :
** ทักษะชีวิต
** ทักษะการคิด
** ทักษะการอยู่ร่วมกัน
** ทักษะการสื่อสาร
** ทักษะการสังเกต
** ทักษะการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
คุณลักษณะ :
- เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่น
ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่
- มีความรับผิดชอบและมุ่งมั่นในการทำงาน
- กระตือรือร้นในการเรียนรู้
   - มีจิตอาสาในการทำกิจกรรมต่างๆ มีน้ำใจช่วยเหลือ แบ่งปัน 
   - ยินดีและพอใจในสิ่งที่ตนเองมี เคารพสิทธิซึ่งกันและกัน


ตารางวิเคราะห์ความสัมพันธ์มาตรฐานการเรียนรู้กับพัฒนาการ
หน่วยพิพิธภัณฑ์ของเล่น” ระดับชั้นอนุบาล 2  (Quarter 4) ภาคเรียนที่ 2 / 2558


สาระการเรียนรู้
พัฒนาการ
มาตรฐาน/ตัวบ่งชี้
สาระ
1.สร้างฉันทะ สร้างแรงบันดาลใจ เผชิญกับปัญหา
2.  เลือกเรื่องที่อยากเรียนรู้
 - ตั้งชื่อหน่วยการเรียนรู้
 - สิ่งที่รู้แล้ว สิ่งที่อยากเรียนรู้
3.ของเล่นจากวัสดุธรรมชาติ
- ใบ
- ลำต้น
- ผล
- เมล็ด
4. ของเล่นจากวัสดุเหลือใช้
- กระดาษ
- ขวดพลาสติก
- ไม้ไอศกรีม
- แผ่นซีดี
- กล่องลัง
- กระสอบ
5. ของเล่นจากวัสดุสังเคราะห์
- หนังยาง
- ตัวการ์ตูนยาง
- ลูกบอลพลาสติก
- ลูกโป่ง
6.การละเล่นพื้นบ้าน 4 ภาค
กระโดดยาง 
เป่าหนังยาง
ขว้างราว
ตีลูกล้อ 
- ตี่จับ
รีรีข้าวสาร
มอนซ้อนผ้า
เดินกะลา
กาฟักไข่
หมากเก็บ
ขี่ม้าส่งเมือง
-  ม้าหลังโปก
-  โพงพาง
-  ปิดตาตีปี๊บ
- โพงพาง
-  ฯลฯ
7.สรุปองค์ความรู้หลังเรียน













                         

                       


ด้านร่างกาย
    ผู้เรียนมีทักษะในการใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่-เล็กในการเคลื่อนไหวร่างกาย  ประดิษฐ์ชิ้นงาน  ได้แก่  
ขีดเขียน  วาดภาพบุคคลระบายสีไม้สีเทียนเล่นกับสีน้ำ   เช่น เป่าสี  พับสีปั้นดินน้ำมันฉีก- ปะ กระดาษเป็นรูปครอบครัวและสิ่งมีชีวิตอื่นต่อเติมภาพตามจินตนาการประดิษฐ์สิ่งมีชีวิตจากเศษวัสดุต่างๆประกอบอาหารที่มีส่วนผสมของน้ำเคลื่อนไหวส่วนต่างๆ  ของร่างกาย การแสดงบทบาทสมมติ/จินตนาการผ่านท่าทางและสีหน้า

พัฒนาการทางด้านร่างกาย
มาตรฐานที่ 1  ร่างกายเจริญเติบโตตามวัยและมีสุขนิสัยที่ดี
ตัวบ่งชี้ที่ 1.1 มีน้ำหนักส่วนสูงตามเกณฑ์
ตัวบ่งชี้ที่ 1.2 มีสุขภาพอนามัย  สุขนิสัยที่ดี  และรู้จักรักษาความปลอดภัย
มาตรฐานที่ 2 กล้ามเนื้อใหญ่และกล้ามเนื้อเล็กแข็งแรงใช้ได้อย่างคล่องแคล่วและประสานสัมพันธ์กัน
ตัวบ่งชี้ที่ 2.1 เคลื่อนไหวร่างกายคล่องแคล่วและทรงตัวได้
ตัวบ่งชี้ที่ 2.2 เล่นและออกกำลังกาย
ตัวบ่งชี้ที่ 2.3  .ใช้มือได้อย่างคล่องแคล่วและประสานสัมพันธ์กัน
ด้านอารมณ์และจิตใจ
     ผู้เรียนมีวินัย  ความรับผิดชอบ  ปฏิบัติตนตามข้อตกลงร่วมกัน  ทำงานจนสำเร็จ  และแสดงความภาคภูมิใจในผลงานของตนเอง  ได้แก่  การShow and Shareผลงานในแต่ละสัปดาห์  การทำใบงานให้เสร็จตามเวลาที่กำหนด  การเก็บของใช้เข้าที่หลังจากทำใบงานหรือประดิษฐ์ชิ้นงาน
 -  ผู้เรียนช่วยเหลืองานเต็มความสามารถด้วยความ
เต็มใจ  เช่น  การจัดเก็บอุปกรณ์ เก็บกวาดห้องเรียน อาสาแจกใบงาน/อุปกรณ์ให้เพื่อน
 -  ผู้เรียนมีมารยาทและปฏิบัติตามวัฒนธรรมไทย ได้แก่  มีมารยาทในการพูดเมื่อต้องการพูดจะยกมือก่อนพูดทุกครั้ง 
สนใจฟังเมื่อมีผู้อื่นพูด  มีมารยาทในการรับประทานอาหาร  ไหว้ขอบคุณเมื่อรับสิ่งของจากผู้อื่นทุกครั้ง
-  ผู้เรียนมีจิตสำนึกในการรักษาความสะอาดด้วยการนำเศษวัสดุจากการประดิษฐ์ชิ้นงานทิ้งลงถังขยะอย่างถูกที่
    -  ผู้เรียนมีความสนใจงานด้านศิลปะโดยเข้าร่วมกิจกรรมด้านศิลปะอย่างมีความสุข ได้แก่  การสร้างงานศิลปะด้วยความเต็มใจ  การแสดงความชื่นชมและภาคภูมิใจในผลงานศิลปะ

พัฒนาการทางด้านอารมณ์  จิตใจ
มาตรฐานที่ 3  มีสุขภาพจิตดี  และมีความสุข
ตัวบ่งชี้ที่  3.1  แสดงออกทางอารมณ์อย่างเหมาะสมกับวัยและสถานการณ์
ตัวบ่งชี้ที่  3.2  มีความรู้สึกที่ดีต่อตนเองและผู้อื่น
ตัวบ่งชี้ที่  3.3  มีความเห็นอก เห็นใจผู้อื่น
มาตรฐานที่  4  ชื่นชมและแสดงออกทางศิลปะ  ดนตรี  และการเคลื่อนไหว
ตัวบ่งชี้ที่  4.1  สนใจและมีความสุขกับศิลปะ ดนตรี  และการเคลื่อนไหว
ตัวบ่งชี้ที่  4.2  แสดงออกทางด้านศิลปะ  ดนตรี  และการเคลื่อนไหวตามจินตนาการ
มาตรฐานที่  5  มีคุณธรรม  จริยธรรม  และมีจิตใจที่ดีงาม
ตัวบ่งชี้ที่  5.1  มีความรับผิดชอบ
ตัวบ่งชี้ที่  5.2  ซื่อสัตย์สุจริตและรู้ถูกรู้ผิด
ตัวบ่งชี้ที่  5.3  มีความเมตตากรุณา  มีน้ำใจและ
ช่วยเหลือแบ่งปัน
ตัวบ่งชี้ที่  5.4  ประหยัด อดออม  และพอเพียง
ด้านสังคม
    - ผู้เรียนสนใจเข้าร่วมกิจกรรม  เล่นและทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข 
   -  ผู้เรียนยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
   -  ผู้เรียนมีความเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี  
   -  ผู้เรียนมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีต่อครู  เพื่อนและผู้อื่น

พัฒนาการด้านสังคม 
มาตรฐานที่  6  มีทักษะในการดำเนินชีวิต
ตัวบ่งชี้ที่  6.1  มีวินัยในตนเอง
ตัวบ่งชี้ที่  6.2  ช่วยเหลือตนเองในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน
ตัวบ่งชี้ที่  6.3  ระหวังภัยจากคนแปลกหน้าและสถานการณ์ที่เสี่ยงอันตราย
มาตรฐานที่ที่  7  รักธรรมชาติ  สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม และความเป็นไทย
ตัวบ่งชี้ที่  7.1  ดูแลรักษาธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ตัวบ่งชี้ที่  7.2  มีสัมมาคารวะและมารยาทตามวัฒนธรรมไทย
ตัวบ่งชี้ที่  7.3  รักความเป็นไทย
มาตรฐานที่  8  อยู่ร่วมกันกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุขและปฏิบัติตนเป็นสมาชิกที่ดีของสังคมในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
ตัวบ่งชี้ที่  8.1  ยอมรับความเหมือนและความแตกต่างระหว่างบุคคล
ตัวบ่งชี้ที่  8.2  มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่น
ตัวบ่งชี้ที่  8.3  ปฏิบัติตนเบื้องในการเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม  ในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
ด้านสติปัญญา
    -  ผู้เรียนสามารถเรียงลำดับเหตุการณ์จากการฟังนิทานหรือเรื่องราวได้
    -  ผู้เรียนรู้จักตั้งคำถามเพื่อหาเหตุผลและมีความสนใจใฝ่รู้
    -  ผู้เรียนมีทักษะในการสื่อสาร สามารถถ่ายทอดเรื่องราว
เกี่ยวกับครอบครัว และสิ่งมีชีวิตอื่นจากประสบการณ์ที่ได้พบเห็นให้ผู้อื่นเข้าใจได้
    -  ผู้เรียนสนทนาโต้ตอบเป็นเรื่องราวกับผู้อื่นได้
    -  ผู้เรียนมีทักษะในการดูแลสุขภาพของตนเอง
    - ผู้เรียนสามารถนับ ตัก ตวงเครื่องปรุงอย่างง่ายๆในการประกอบอาหารได้

พัฒนาการด้านสติปัญญา    
มาตรฐานที่  9  ใช้ภาษาสื่อสารได้เหมาะสมกับวัย
ตัวบ่งชี้ที่  9.1  สนทนาโต้ตอบและเล่าเรื่องให้ผู้อื่นเข้าใจ
ตัวบ่งชี้ที่  9.2  อ่าน  เขียนภาพ และสัญลักษณ์ได้
มาจรฐานที่  10  มีความสามารถในการคิดที่เป็นพื้นฐานในการเรียนรู้
ตัวบ่งชี้ที่  10.1  มีความสามารถในการคิดแก้ปัญหา
ตัวบ่งชี้ที่  10.2  มีความสามารถในการคิดเชิงเหตุผล
ตัวบ่งชี้ที่  10.3  มีความสามารถในการคิดรวบยอด
มาตรฐานที่  11  มีจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์
ตัวบ่งชี้ที่  11.1  เล่น / ทำงานศิลปะตามจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ของตนเอง
ตัวบ่งชี้ที่  11.2  แสดงท่าทาง / เคลื่อนไหวตามจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ของตนเอง
มาตรฐานที่  12  มีเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้  และมีความสามารถในการแสวงหาความรู้ได้เหมาะสมกับวัย
ตัวบ่งชี้ที่  12.1  มีเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้
ตัวบ่งชี้ที่  12.2  มีความสามารถในการแสวงหาความรู้ 




Web เชื่อมโยงหน่วย พิพิธภัณฑ์ของเล่น    กับพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน
ด้านร่างกาย
กล้ามเนื้อมัดเล็ก
  -  ขีดเขียน  วาดภาพ              - ร้อยลูกปัด
  -  ระบายสีไม้ สีเทียน  ฝนสี    - เล่นทรายเปียก / แห้ง
  -  ปั้นดินน้ำมัน ปั้นแป้งโดว์  
  - ฉีก  ปะ ตัด ติด
  - ขยำกระดาษ       
  - ตัดกระดาษตามเส้น
  - พับกระดาษ         
  - ต่อเติมภาพตามจินตนาการ
  - ประดิษฐ์จากวัสดุธรรมชาติ / วัสดุเหลือใช้
  - ประกอบอาหาร  
  - เล่นกับสีน้ำ เช่น เป่าสี  พับสี ฉีดสี กลิ้งสี  พิมพ์สี ฯลฯ
กล้ามเนื้อมัดใหญ่
- เล่นเครื่องเล่นสนาม
-  เล่นกีฬา  เกมการละเล่น  เช่น  การโยน-รับลูกบอล  กลิ้งบอล การเดาะลูกบอล
-  การเคลื่อนไหวร่างกาย  เช่น  เคลื่อนไหวประกอบเพลง  ประกอบคำบรรยาย  เป็นต้น
-  กระโดดขาเดียว  กระโดดสองขา ก้าวกระโดด
-  การประดิษฐ์ชิ้นงาน  หรือการทดลอง
-  การเดิน  การวิ่ง  การกระโดด คลาน
-  การดึง  การดัน  การจับ  การขว้าง  การเตะ เคาะจังหวะ ตบมือ ผงกศีรษะ ขยิบตา
-  การเลียนแบบท่าทางสัตว์ต่างๆ  เช่น เสียง ลักษณะอาการ
ความสัมพันธ์มือ-ตา
-  การขีดเขียน   การวาดตามแบบ
-  การร้อยลูกปัด  ร้อยมาลัยดอกไม้
-  การต่อบล็อก ต่อเลโก้
-  การระบายสีไม้ สีน้ำ
-  การตัดกระดาษ
-  การหยิบจับสิ่งของ
-  การเล่นเกม  กีฬา  เช่น  การรับ-การโยน
-  การช่วยเหลือตัวเองในชีวิตประจำวัน เช่น  การรับประทานอาหาร  การแต่งกาย  การสวมใส่เสื้อผ้ารองเท้า  ถุงเท้า  เป็นต้น
-  การเล่นเครื่องเล่นสัมผัส
ด้านอารมณ์-จิตใจ,  ด้านสังคม
-  การร้องเพลง  การท่องคำคล้องจอง  การทำท่าทางประกอบตามจังหวะดนตรี /คำบรรยาย
-  การฟังนิทาน  การเล่านิทาน การแต่งประโยค การพูดถ่ายทอดเรื่องราว
-  การมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งต่างๆ เช่น  เล่นกับเพื่อน  เล่นกับครู  เล่นเครื่องเล่น เช่น กระบอกไม้ไผ่ เครื่องเคาะจังหวะ เครื่องตี  ฯลฯ
-  การเล่นมุมบล็อก  การเล่นมุมบทบาทสมมติ  การเก็บของเล่น
-  การแบ่งปัน   การรอคอยตามลำดับก่อน หลัง   
-  การบอกความรู้สึก  ความต้องการ การรับรู้อารมณ์ ความรู้สึกของผู้อื่น
-  การช่วยเหลือตนเองในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน เช่น การรับประทานอาหาร  การแต่งกาย  การสวมใส่เสื้อผ้ารองเท้า  ถุงเท้า การอาบน้ำ แปรงฟัน เป็นต้น
-  การรู้บทบาทหน้าที่
- การเป็นผู้นำ – ผู้ตามที่ดี การยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น   ฯลฯ
ด้านสติปัญญา
- การรับรู้และเรียนรู้สิ่งต่างๆ รอบตัว เช่น ฤดูกาล กลางวัน กลางคืน ธรรมชาติ
-  การใช้ประสาทสัมผัสทั้ง  5  ในการเคลื่อนไหวและการเรียนรู้สิ่งต่างๆ  รอบตัว
-  การใช้ภาษาสื่อความหมาย  และความคิด เช่น การพูด แสดงท่าทางประกอบ
-  การรู้จักสังเกตคุณลักษณะต่างๆ เช่น  สี  ขนาด  รูปร่าง  รูปทรง น้ำหนัก  กลิ่น แบบรูปความสัมพันธ์ การจำแนก การจัดกลุ่ม การเปรียบเทียบ เรียงลำดับ ฯลฯ
-  การจดจำชื่อ รูปร่างลักษณะ ความเหมือน ความแตกต่างของสิ่งต่างๆ รอบตัว
-  การฝึกใช้อวัยวะรับสัมผัสต่างๆ  ได้แก่  ตาดู หูฟัง จมูกดมกลิ่น  ลิ้นชิมรส และกายสัมผัส
-  การสนทนาถาม-ตอบ จากสิ่งที่ได้ฟัง ได้ดูและปฏิบัติ เช่น นิทาน เรื่องเล่า ดูคลิปวีดีโอ เพลง คำคล้องจอง  เกมการศึกษา ฯลฯ
-  การอธิบายให้เหตุผล การแก้ปัญหา การนำเสนอสิ่งที่ทำหรือคิด
- การสื่อความหมายของมิติสัมพันธ์ เช่น ภาพวาด ภาพถ่าย ฯลฯ
-  การทดลอง เช่น การตั้งคำถาม การสังเกต การให้เหตุผล การสรุป ฯลฯ




 Web เชื่อมโยงหน่วย  พิพิธภัณฑ์ของเล่น  กับพัฒนาการสาระพื้นฐาน
ภาษาไทย
คณิตศาสตร์
ภาษาอังกฤษ
วิทยาศาสตร์
การฟัง
-  ฟังนิทาน
-  ฟังเพลงและเคลื่อนไหวทำท่าทางประกอบ
-  ฟังและปฏิบัติตามคำสั่ง/ข้อตกลง
-  ฟังและตอบคำถาม
-  การเป็นผู้ฟังที่ดี
-  การฟังและจำแนกเสียง  เช่น  เสียงสัตว์
การพูด 
-  บอกความต้องการ/ความรู้สึก
-  สนทนาถาม-ตอบ
-  อธิบายสิ่งที่เข้าใจ
-  ร้องเพลง  คำคล้องจอง
-  แนะนำ/บอกชื่อของสิ่งต่างๆ
-  เล่าหรือถ่ายทอดเรื่องราว เหตุการณ์ที่ได้ฟัง  ได้เห็น  หรือประสบจริง
-  แต่งประโยคจำคำ / ภาพ
-  เล่าเรื่องตามภาพ
การอ่าน
- อ่านตามภาพ
-  อ่านท่าที  ท่าทาง  สีหน้า  ลักษณะต่างๆ
-  การอ่านคำตามภาพ / สัญลักษณ์
-  อ่านตามตัวอย่าง
-  การสะกดคำง่ายๆ  เช่น   แม่ ก กา
การเขียน
-  เขียนตามตัวอย่าง
-  เขียนตามจินตนาการ
-  การเขียนชื่อตนเอง ฯลฯ
การสังเกต  การจำแนก  การเปรียบเทียบ
-  การจำแนกความเหมือนความต่าง  มากกว่า น้อยกว่า เท่ากับ
-  การจัดหมวดหมู่ เช่น รูปร่าง รูปทรง ขนาด สี น้ำหนัก
-  การเรียงลำดับสิ่งต่างๆ
ด้านตัวเลขและจำนวน
-  การนับจำนวน  ลำดับจำนวน  สัญลักษณ์แทนจำนวน
-  การรู้ค่าจำนวน
-  การดำเนินการเกี่ยวกับจำนวน
ด้านมิติสัมพันธ์
-  เข้าใจตำแหน่งที่สัมพันธ์กัน
-  เข้าใจระยะ เช่น ใกล้ ไกล ตรงข้าม ระหว่าง
-  การเข้าใจทิศทาง เช่น ซ้าย ขวา หน้า หลัง
-  การต่อชิ้นส่วนภาพ
ทักษะทางด้านเวลา
-  การเปรียบเทียบในเรื่องเวลา
-  การลำดับเหตุการณ์ที่สัมพันธ์กัน
-  ฤดูกาล
ทักษะการคิด
-  การใช้ประสาทสัมผัสทั้ง  5
-  การคิดเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ
-  ความคิดสร้างสรรค์
-  การคิดแก้ปัญหา
ทักษะการใช้ภาษา / การสื่อสาร
-  การฟัง
-  การพูด
-  การอ่าน
-  การเขียน
การฟัง
-  ฟังคำสั่งเข้าใจ  ปฏิบัติตามได้  เช่น  Sit down , Stan   up  เป็นต้น
-  ฟัง  เข้าใจความหมาย  สนทนาโต้ตอบได้  เช่น What  you  name ?  My name  is……..  What  is  this ? It’s a…….
What do  like ?  I  like  ……………
-  ร้องเพลง  เข้าใจความหมาย
การพูด
-  พูดสนทนาโต้ตอบ
-  บอกคำศัพท์เกี่ยวกับสิ่งต่างๆ รอบตัว  เช่น  เกี่ยวกับอวัยวะ  เกี่ยวกับสิ่งของเครื่องใช้  เกี่ยวกับสิ่งมีชีวิต / ไม่มีชีวิต  ฯลฯ
การอ่าน
-  อ่านคำศัพท์จากภาพ
-  อ่านตามตัวอย่าง
- อ่าน A-Z
การเขียน
-  เขียน  A-Z
-  เขียนชื่อตัวเอง
-  เขียนคำตามตัวอย่าง

ทักษะการสังเกต
- ใช้ประสาทสัมผัส ทั้ง 5 คือ ตา หู จมูก ลิ้ม กายสัมผัส
- เปรียบเทียบความเหมือนความต่างของสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิต
- เรียงลำดับเหตุการณ์ก่อนหลังของสิ่งต่างๆ
- จัดกลุ่มได้ตามเกณฑ์ง่ายๆ ที่กำหนดขึ้นเอง เช่น สี รูปร่าง รูปทรง ขนาด น้ำหนัก
ทักษะการตั้งคำถาม
ตั้งคำถามจากสิ่งที่สังเกตหรือสงสัยได้อย่างสมเหตุสมผล
ทักษะการคาดเดาเหตุการณ์
คาดเดาคำตอบและคาดเดาได้อย่างสมเหตุผล มีความเป็นไปได้  ตามลำดับขั้นตอน
ทักษะการทดลอง
- เลือกใช้เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์อย่างง่ายได้อย่างเหมาะสม
- ทดลองตามลำดับขั้นตอน
ทักษะการแก้ปัญหา
คิดวิเคราะห์สังเคราะห์และจัดการปัญหาในการทำงานกลุ่ม
ทักษะเก็บข้อมูล
วาดภาพสรุปขั้นตอนการทดลองตามความเข้าใจของตนเองและอธิบายให้ผู้อื่นเข้าใจ
ทักษะการสรุปผล
- พูดสนทนาโต้ตอบ / นำเสนอผ่านภาพเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้





ตารางวิเคราะห์เชื่อมโยงหน่วยสาระที่ควรเรียนรู้
ตัวเรา
รู้จักชื่อ  นามสกุล  รูปร่าง  หน้าตา  รู้จักอวัยวะต่างๆ วิธีระวังรักษาร่างกายให้สะอาด  ปลอดภัย  การรับประทานอาหารที่ถูกสุขลักษณะ  เรียนรู้ที่จะเล่นและทำสิ่งต่างๆ ด้วยตนเองคนเดียว  หรือกับผู้อื่น  ตลอดจนเรียนรู้ที่จะแสดงความคิดเห็น  ความรู้สึก  และมารยาทที่ดี
หน่วยสาระ
1. หน่วยร่างกาย
2. หน่วยเด็กดี
3. หน่วยประสาทสัมผัสทั้ง 5
4. หน่วยเนื้อ  นม  ไข่
5. หน่วยอาหาร

บุคคล และสถานที่
เด็กควรมีโอกาสได้รู้จักและรับรู้เรื่องราวเกี่ยวกับครอบครัว  สถานศึกษา  ชุมชน  รวมทั้งบุคคลต่างๆ ที่เด็กต้องเกี่ยวข้องหรือมีโอกาสได้ใกล้ชิดและมีปฏิสัมพันธ์ในชีวิตประจำวัน
หน่วยสาระ
1. หน่วยครอบครัว
2. หน่วยโรงเรียน
3. หน่วยชุมชน
4. หน่วยบุคคลสำคัญ
5. หน่วยเมืองไทย
6. หน่วยวันสำคัญ  เช่น  วันพ่อ  วันแม่  วันครู  วันเด็ก ฯลฯ

ธรรมชาติรอบตัว
เด็กควรได้เรียนรู้สิ่งมีชีวิต  สิ่งไม่มีชีวิต  รวมทั้งความเปลี่ยนแปลงของโลกที่แวดล้อมเด็กตามธรรมชาติ  เช่น  ฤดูกาล  กลางวัน  กลางคืน  ฯลฯ
หน่วยสาระ
1. หน่วยสัตว์
2. หน่วยผีเสื้อ
3. หน่วยน้ำ
4. หน่วยพืช  ผัก  ผลไม้
5. หน่วยดอกไม้
6. หน่วยอากาศ
7. หน่วยกลางวัน  กลางคืน
8. หน่วยโลกสวยด้วยมือเรา
9.  หน่วยฤดูกาล
10.  หน่วยตาวิเศษ
สิ่งต่างๆ รอบตัว
เด็กควรได้รู้จักสี  ขนาด  รูปร่าง  รูปทรง  น้ำหนัก  ผิวสัมผัสของสิ่งต่างๆ รอบตัว  สิ่งของเครื่องใช้  ยานพาหนะ  และการสื่อสารต่างๆ ที่ใช้อยู่ในชีวิตประจำวัน
หน่วยสาระ
1. หน่วยการคมนาคม
2. หน่วยการสื่อสาร
3. หน่วยพลังงาน
4. หน่วยวิทยาศาสตร์
5. หน่วยคณิตศาสตร์
6. หน่วยเครื่องมือเครื่องจักร
7. หน่วยปลอดภัยไว้ก่อน
8. หน่วยของเล่น  ของใช้















ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น