หน่วย พิพิธภัณฑ์ของเล่น

เป้าหมาย (Understanding Goal)
นักเรียนเห็นคุณค่าของของเล่น /การละเล่น / ธรรมชาติและสิ่งต่างๆรอบตัว อีกทั้งยังสามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้ เช่น การนำเอาวัสดุจากธรรมชาติรอบตัวมาประดิษฐ์เป็นของเล่นได้ พร้อมทั้งรู้จักเลือกเล่น/เล่นของเล่นให้เหมาะสมกับตนเอง เรียนรู้วิธีการเล่นให้ปลอดภัย

Week7

แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้บูรณาการ (Problem  Based  Learning) ( PBL.
หน่วย : “ พิพิธภัณฑ์ของเล่น”
ระดับชั้นอนุบาลภาคเรียนที่ (Quarter 4 )  ปีการศึกษา  2558   
              
เป้าหมายรายสัปดาห์ : นักเรียนสามารถเรียนรู้เข้าใจถึงประโยชน์ และข้อควรระวัง ในการเล่นของเล่น และสามารถนำความรู้ไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้  เช่น รู้จักเลือกเล่นของเล่นที่เหมาะสมกับตนเอง 
Week
Input
Process
Output
Outcome
7

22 - 26
ก.พ.59


-โจทย์ :
- การละเล่นพื้นบ้าน 4 ภาค
เครื่องมือคิด
Key  Questions
-การละเล่นพื้นบ้านแต่ละภาคมีอะไรบ้างและมีความแตกต่างกันอย่างไร?
Brainstorms :
-แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับคลิปการละเล่นพื้นบ้านสี่ภาค
-สนทนาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการละเล่นของภาคอีสาน ได้แก่  “ม้าหลังโปก” และเบี้ยกระโดด
-แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการละเล่นของภาคเหนือ ได้แก่ “โพงพาง”
Blackboard  Share : 
-สนทนาระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับ “ ของเล่นและการละเล่นสี่ภาค
-สนทนาระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับกิจกรรมการเล่นที่ผ่านมาทั้งสัปดาห์/ วิธีการเล่น/ข้อควรระวังในการเล่นการละเล่นต่างๆ
Show and Share :
- นักเรียนนำเสนอชิ้นงาน
Wall Thinking
 ติดชิ้นงาน
- ใบงานแตก Web   การละเล่นพื้นบ้าน 4 ภาค
- ใบงานแตก Web กิจกรรมการเล่นที่ผ่านมาทั้งสัปดาห์/ วิธีการเล่น/ข้อควรระวังในการเล่นการละเล่นต่างๆ
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
- ครู
- นักเรียน
-ผู้ปกครอง
สื่อและแหล่งเรียนรู้
-บรรยากาศภายในห้องเรียน
-สนามกลางแจ้ง
- เศษกระเบื้อง
-ผ้ามัดให้กลมๆ
-ผ้าผูกตา

วัน จันทร์ (1ชั่วโมง)
ชง :
- ครูนำคลิปการละเล่นพื้นบ้าน 4 ภาคมาให้นักเรียนดู
เชื่อม :
- ครูและนักเรียนสนทนาระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับคลิปVDO ที่ดู โดยครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด
 “ ของเล่นและการละเล่นแต่ละภาคมีอะไรบ้าง?และมีวิธีเล่นอย่างไร? ”
ใช้ :
- นักเรียนแตก Web   การละเล่นพื้นบ้าน 4 ภาค
วันอังคาร (1ชั่วโมง)
ชง  :
ครูและนักเรียนร่วมกันร้องเพลงโพงพางเอย. 
" โพงพางเอย ปลาเข้าลอด  ปลาตาบอด เข้าลอดโพงพาง  โพงพางเอย นกกระยางเข้าลอด   เสือปลาตาบอด
 เข้าลอดโพงพาง  กินปลาเป็นหรือกินปลาตาย "
เชื่อม :
- ครูและนักเรียนสนทนาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการละเล่นต่าง ๆของภาคเหนือ  เช่น การละเล่น“โพงพาง”
-ครูอธิบายขั้นตอนการเล่น “โพงพาง”  ดังนี้
    1.เลือกคนที่เป็นปลา โดยการจับไม้สั้นไม้ยาว เอาผ้าผูกตาคนที่เป็นปลา แล้วหมุน 3 รอบ
2. ผู้เล่นคนอื่นๆ ล้อมวงจับมือกันเดินเป็นวงกลม พร้อมร้องเพลงประกอบ เมื่อจบเพลงนั่งลง ถามว่า "ปลาเป็นหรือปลาตาย" ถ้าตอบว่า "ปลาเป็น" คนที่อยู่รอบวงจะขยับเขยื้อน
หนีได้ ถ้าบอก "ปลาตาย" จะต้องนั่งอยู่เฉยๆ คนที่ถูกปิดตาทายถูกก็ต้องมาเป็นแทน ถ้าทายผิดต้องเป็นต่อไป (ผู้ที่เป็นปลา ซึ่งถูกปิดตาจะต้องทายว่า ผู้ที่ถูกจับได้เป็นใคร
ชื่ออะไร)
ใช้ :
- นักเรียนเล่นการละเล่น  “โพงพาง”
วันพุธ ( 1 ชั่วโมง)
ชง :
- ครูนำเศษกระเบื้องที่เคาะให้เป็นกลมมาให้นักเรียนดู ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด  “นักเรียนเห็นอะไร?” “ สามารถนำไปทำอะไรได้บ้าง?”
เชื่อม :
- ครูและนักเรียนสนทนาเกี่ยวกับการละเล่นของภาคอีสาน ได้แก่ “เบี้ยกระโดด”
- ครูสาธิตวิธีการเล่น ดังนี้
     1. ขีดช่องสำหรับกระโดดเป็น 6 ช่อง ขนาดโตพอที่จะกระโดดเข้าไปยืนได้ แล้วแบ่งครึ่งช่องที่ 3 ที่ 5 สำหรับที่พัก และกลับหลังหัน จึงมีช่องทั้งหมด 8 ช่อง แล้วเขียนหัวกระโหลกเล็ก ๆ ในช่องบนสุด
     2. ใช้อะไรเป็นเบี้ยก็ได้ แต่ควรเป็นของที่มีน้ำหนัก ถ้าใครโยนเข้าหัวกระโหลกที่เล็ก ๆ นั้น ก็จะได้เล่นก่อน
     3. โยนเบี้ยลงช่องที่ 1 แล้วกระโดดขาเดียวข้ามช่องที่ 1 เข้าไปยังช่องที่ 2 แล้วกระโดด 2 ขา เข้าไปในช่องที่ 3 และ 4 ให้เท้าข้างหนึ่งอยู่ช่องที่ 3 อีกข้างหนึ่งอยู่ที่ช่องที่ 4 จากนั้นกระโดดขาเดียว ต่อไปยังช่องที่ 5 และ 2ขา ที่ช่องที่ 6 และ 7 ตามลำดับ กระโดดตัวกลับ หันหน้ากลับมาทางเดิม กระโดดขาเดียวมายังช่องที่ 5 สองขาที่ช่องที่ 3 และ 4 ขาเดียวที่ช่องที่ 2 และช่องที่ 1 พร้อมกับก้มลงเก็บเบี้ยที่ช่องที่ 1 จากนั้นก็กระโดดออกมา
     4. ถ้าเกิดเล่นช่องที่ 1 แล้วก็เล่นช่องที่ 2 โดยโยนเบี้ยให้อยู่ในช่องที่ 2 แล้วกระโดดขาเดียวไปยังช่องที่ 1 ข้ามช่องที่ 2 ไปยืน 2 ขาที่ช่องที่ 3 และ 4 กระโดดไปยืนขาเดียวที่ช่องที่ 5 และ 2 ขา ที่ช่องที่ 6 และ 7 แล้วหันตัวกลับทำอย่างเดียวกับตาแรก คือ ต้องกระโดดกลับมาเก็บเบี้ยแล้วจึงกระโดดออกไป ถ้าเกิดเล่นถึงช่องหัวกระโหลกบนสุด ให้กระโดดกลับตัวในช่องที่ 6 และ 7 แล้วก้มลงใช้มือลอดระหว่างขา เก็บเบี้ยในช่องกระโหลก เมื่อเก็บได้จึงกระโดดออกมาอย่างเดิม หากว่าเล่นทุกช่องหมดแล้วจะได้บ้าน 1 หลัง จึงขีดกากบาทไว้กลางช่องต่อไป ใครจะเหยียบบ้านนี้ไม่ได้
ใช้ :
-นักเรียนเล่นโยนเบี้ยกระโดด
วันพฤหัสบดี( 1 ช.ม.)
ชง  :
 - ผู้ปกครองนำผ้าที่มัดให้เป็นก้อนกลม ๆ มาให้นักเรียนสังเกตดู ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด
 “นักเรียนเห็นอะไร?”
 “คิดว่านำไปเล่นได้อย่างไร?”
เชื่อม :
- ผู้ปกครองครูและนักเรียนสนทนาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการละเล่น  “ม้าหลังโปก”
-ครูให้นักเรียนจับคู่แล้วยืนเป็นวงกลม
- ผู้ปกครองสาธิตวิธีการละเล่นม้าหลังโปก  ดังนี้
     1.ใช้ผ้ามัดเป็นก้อนกลม ๆ เป็นอุปกรณ์ในการเล่น
     2. ผู้เล่นจับคู่ ม้า กับ คนขี่โดยคนขี่ ขึ้นขี่หลังม้าให้ครบทุกคน ยืนล้อม เป็นวงกลม
     3.ให้แต่ละคู่อยู่ห่างกันพอประมาณ
     4. ผู้เล่นฝ่ายคนขี่ เริ่มโยนบอลให้ผู้ขี่คนอื่นและโยนส่งต่อกันไปเรื่อย ๆ วนไปตามที่ยืนล้อมวงกัน
     5. ฝ่ายม้าพยายามทำให้คนขี่รับบอลไม่ได้ด้วยการไม่อยู่นิ่ง ๆ ให้เป็นอุปสรรคต่อการรับบอล ฝ่ายคนขี่ก็ต้องพยายามรับบอลให้ได้หากม้าดื้อเกินไปก็อนุญาตให้ลงโทษด้วยการเอาลูกบอลเคาะหัว ห้ามใช้ อย่างอื่น (จะเคาะหัวม้าได้ ก็ต่อเมื่อ มีบอลอยู่ในมือ)
    6.หากฝ่ายขี่รับบอลไม่ได้ หรือทำบอลหลุดมือ ตกพื้น ฝ่ายม้าต้องรีบตะครุบบอล แล้วปาใส่ให้โดนผู้เล่นฝ่ายคนขี่ คนใดก็ได้ ถ้าปาโดน ก็จะสลับ กลับข้าง ให้ฝ่ายม้าเป็นคนขี่ ฝ่ายคนขี่ กลับมาเป็นม้า บ้าง
แต่ถ้าปา ไม่โดน ฝ่ายม้าก็จะต้องเป็นม้าให้ฝ่ายคนขี่ ตามเดิม 
ใช้ :
- ครู/ผู้ปกครอง/นักเรียนเล่นการละเล่น “ม้าหัวโปก”
วันศุกร์  ( 1  ชั่วโมง)
เชื่อม  :
- ครูและนักเรียนสนทนาสรุปเกี่ยวกับกิจกรรมการละเล่นที่ได้เล่นมาทั้งสัปดาห์
ใช้ :
-นักเรียนเขียน Web เกี่ยวกับกิจกรรมการละเล่นที่ผ่านมาทั้งสัปดาห์ รวมถึงวิธีการเล่น/ข้อควรระวังในการเล่นการละเล่นต่างๆ
ภาระงาน
- ดูและสนทนาคลิปการละเล่นพื้นบ้าน  4 ภาค
-เล่นการละเล่น  โพงพาง
-เล่นกาลละเล่น ม้าหัวโปก
-เล่นเบี้ยกระโดด
ชิ้นงาน
- ใบงานแตก Web   การละเล่นพื้นบ้าน 4 ภาค
- ใบงานแตก Web กิจกรรมการเล่นที่ผ่านมาทั้งสัปดาห์/ วิธีการเล่น/ข้อควรระวังในการเล่นการละเล่นต่างๆ
ความรู้ :
-นักเรียนสามารถเรียนรู้เข้าใจถึงประโยชน์ และข้อควรระวัง ในการเล่นของเล่น และสามารถนำความรู้ไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้  เช่น รู้จักเลือกเล่นของเล่นที่เหมาะสมกับตนเอง
ทักษะ :
** ทักษะชีวิต
-สามารถนำเอาวัสดุหรือสิ่งของรอบตัวมาประยุกต์เพื่อนำไปเล่นได้
- เลือกใช้เครื่องมือ เช่น ดินสอ สี กระดาษ ในการสร้างสรรค์ชิ้นงานได้อย่างคุ้มค่า และเหมาะสม
- สามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันและดูแลตนเองได้
** ทักษะการคิด - คิดวิเคราะห์/สังเคราะห์สิ่งที่ได้เรียนรู้ มีจินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ และสามารถเชื่อมโยงกับชีวิตประจำวันของตนเองได้
-  สามารถอธิบายให้เหตุผลเกี่ยวกับสิ่งที่ตนอยากเรียนรู้ได้
- คิดสร้างสรรค์ชิ้นงานเพื่อนำเสนอให้
ผู้อื่นเข้าใจได้
** ทักษะการอยู่ร่วมกัน
-สามารถจัดการปัญหาในการทำงานกลุ่มและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
-เรียนรู้การเป็นผู้นำผู้ตามได้อย่างเหมาะสม
** ทักษะการสื่อสาร
อธิบายสิ่งที่ตนเอง/กลุ่ม เข้าใจและเรียนรู้ได้อย่างมีเหตุผลและน่าสนใจ
** ทักษะการสังเกต
- สังเกตแปลงผัก  สิ่งมีชีวิตรอบๆบริเวณภายในโรงเรียน
- สังเกตการณ์เปลี่ยนแปลงของสิ่งมีชีวิต
** ทักษะการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
สามารถค้นหาข้อมูลจากการสอบถาม ครูผู้ปกครองหรือผู้รู้เกี่ยวกับเรื่องที่ตนเองสนใจ
** การอยู่ร่วมกันกับผู้อื่น
คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์และจัดการปัญหาในการทำงานกลุ่ม
คุณลักษณะ :
- เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่น
ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
- มีความรับผิดชอบและมุ่งมั่นในการทำงาน
- กระตือรือร้นในการเรียนรู้
   - มีจิตอาสาในการทำกิจกรรมต่างๆ มีน้ำใจช่วยเหลือ แบ่งปัน 
   - ยินดีและพอใจในสิ่งที่ตนเองมี เคารพสิทธิซึ่งกันและกัน




























1 ความคิดเห็น:

  1. ในสัปดาห์ที่ 7 นี้นักเรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับการละเล่นพื้นบ้าน 4 ภาค โดยคุณครูและผู้ปกครองอาสาพาเล่นการละเล่นต่างๆ แล้วมาแลกเปลี่ยนร่วมกันเกี่ยวกับวิธีการเล่น การเล่นที่ปลอดภัยทั้งตัวและผู้อื่น วิเคราะห์ความเหมือนและความแตกต่างของการละเล่นพื้นบ้านในแต่ละภาค นักเรียนมีความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีการเล่นทุกคน และมีความสุขสนุกสนานกับการละเล่นต่างๆ จากนั้นนักเรียนได้สรุปความเข้าใจผ่านชิ้นงานและนำเสนอแลกเปลี่ยนสิ่งที่ได้เรียนรู้ร่วมกัน ซึ่งพี่ๆอนุบาล 2 มีความตั้งใจมากยิ่งขึ้นในการเล่าถ่ายทอดความเข้าใจของตนเองสู่ผู้อื่น

    ตอบลบ