หน่วย พิพิธภัณฑ์ของเล่น

เป้าหมาย (Understanding Goal)
นักเรียนเห็นคุณค่าของของเล่น /การละเล่น / ธรรมชาติและสิ่งต่างๆรอบตัว อีกทั้งยังสามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้ เช่น การนำเอาวัสดุจากธรรมชาติรอบตัวมาประดิษฐ์เป็นของเล่นได้ พร้อมทั้งรู้จักเลือกเล่น/เล่นของเล่นให้เหมาะสมกับตนเอง เรียนรู้วิธีการเล่นให้ปลอดภัย

week6

แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้บูรณาการ (Problem  Based  Learning) ( PBL.
หน่วย : “ พิพิธภัณฑ์ของเล่น”
ระดับชั้นอนุบาลภาคเรียนที่ (Quarter 4 )  ปีการศึกษา  2558



เป้าหมายรายสัปดาห์ : นักเรียนสามารถเรียนรู้วิธีการเล่นที่หลากหลาย / เล่นอย่างปลอดภัย /รู้จักการเก็บรักษาดูแลของเล่น อีกทั้งยังสามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้
Week
Input
Process
Output
Outcome
6

15 – 19
ก.พ. 59


โจทย์ :
ของเล่นจากวัสดุสังเคราะห์
-หนังยาง
- ตัวการ์ตูนยาง
-ลูกบอลพลาสติก
-ลูกโป่ง
เครื่องมือคิด
Key  Questions
นักเรียนจะออกแบบการเล่นอย่างไร?
นักเรียนมีข้อควรระวังในการเล่นอย่างไร?
- นักเรียนมีวิธีการดูแลเก็บรักษาของเล่นอย่างไร?
- ของเล่นจากวัสดุธรรมชาติ / วัสดุเหลือใช้ /วัสดุสังเคราะห์ มีความแตกต่างกันอย่างไร?
 Brainstorms :
-สนทนาระดมความคิดเกี่ยวกับการออกแบบการเล่นที่หลากหลายโดยใช้วัสดุที่มี ได้แก่  หนังยาง /ตัวการ์ตูนยาง/ลูกบอลพลาสติก
-สนทนาระดมความคิดเกี่ยวกับปัญหาที่พบในการละเล่นตีก้อปลงหลุม
-สนทนาระดมความคิดเกี่ยวกับความแตกต่างกัน  ระหว่างของเล่นจากธรรมชาติ / ของเล่นที่ทำจากวัสดุเหลือใช้  และของเล่นสังเคราะห์
Blackboard  Share : 
-สนทนาระดมความคิดเกี่ยวกับความแตกต่างกัน  ระหว่างของเล่นจากธรรมชาติ / ของเล่นที่ทำจากวัสดุเหลือใช้  และของเล่นสังเคราะห์
- สนทนาระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับการทดลองประดิษฐ์และทดลองเล่นรถแข่งพลังลูกโป่ง
Show and Share :
 - นำเสนอชิ้นงาน
Wall Thinking
 - ติดชิ้นงาน
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
- ครู
- นักเรียน
-ผู้ปกครอง
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- บรรยากาศภายในชั้นเรียน
-บรรยากาศภายนอกชั้นเรียน
 -หนังยาง
- ตัวการ์ตูนยาง

-ลูกบอลพลาสติก/ไม้ตี
-รถแข่งพลังลูกโป่ง (ลูกโป่ง
/หลอด /เทปกาว /ขวดพลาสติก/ฝาขวด)



วัน จันทร์ (1ชั่วโมง)
ชง :
- ครูนำหนังยางมาให้นักเรียนดูและสังเกต
ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด
“หนังยางนำมาเล่นอะไรได้บ้าง?
“หนังยางมีประโยชน์อย่างไร ?
“การเล่นหนังยางเกิดอันตรายได้หรือไม่?/เล่นอย่างไรไม่ให้เกิดอันตราย?”
 “นักเรียนมีวิธีเก็บรักษาหนังยางและของเล่นต่างๆอย่างไรเพื่อใช้ได้นานที่สุด?”
เชื่อม :
- ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาระดมความคิดเกี่ยวกับการละเล่นจากหนังยางในรูปแบบต่าง ๆ
- ครูสาธิตวิธีการเล่นเป่ากบ ดังนี้
**ให้นักเรียนจับคู่/ครูแจกหนังยางให้นักเรียนคนละ 1 เส้น แล้วสลับกันเป่าเพื่อให้หนังยางของตนเองกระโดดทับหนังยางเพื่อน
-ครูให้นักเรียนแต่ละกลุ่มระดมความคิดออกแบบวิธีการเล่นหนังยางกลุ่มละ 1 แบบ
ใช้:
- นักเรียนเล่นเป่ากบเป็นคู่
-นักเรียนออกแบบการเล่นหนังยางเป็นกลุ่ม
วันอังคาร (1ชั่วโมง)
ชง  :
-ครูนำตัวการ์ตูนยางสังเคราะห์มาให้นักเรียนดูและสัมผัส
ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด 
“นักเรียนเคยเห็น/เล่น หรือไม่? ”“เห็นแล้วคิดถึงอะไร?”  “สามารถนำไปเล่นอะไรได้บ้าง?”
เชื่อม :
- ครูและนักเรียนสนทนาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการเล่นการ์ตูนยาง
- ครูสาธิตวิธีการเล่น “ทอยเส้น” ดังนี้
   1.นักเรียนขีดเส้นชัย และเส้นสำหรับยืนทอยหรือโยนตัว การ์ตูนห่างกันประมาณ 2 เมตร
    2. นักเรียนทอยหรือโยนตัวการ์ตูนให้ใกล้เส้นที่สุด ใครใกล้เส้นที่สุดก็ได้ตัวการ์ตูนทั้งหมดไป
ใช้ :  
-นักเรียนเล่นทอยเส้นตัวการ์ตูนยาง
ชื่อม:
-ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาระดมความคิดเกี่ยวกับการละเล่นทอยเส้น โดยครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด
นักเรียนรู้สึกอย่างไรขณะทอยหรือโยนตัวการ์ตูน
ขณะที่เล่นนักเรียนพบปัญหาและแก้ปัญหาอย่างไร? ”
  การเล่นทอยเส้นมีประโยชน์หรือไม่? / มีประโยชน์อย่างไร? ”
วันพุธ  (1 ช.ม.)
ชง:
-ครูนำลูกบอลพลาสติก มาให้นักเรียนสังเกตดู
โดยครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนเห็นอะไร?  / เป็นรูปทรงอะไร? /มีลักษณะคล้ายอะไรบ้างที่นักเรียนรู้จัก? ”
“นำไปเล่นอะไรได้บ้าง? และเล่นอย่างไร?”
เชื่อม:
- ครูและนักเรียนสนทนาเกี่ยวกับการละเล่นตีก้อปลงหลุม
- ครูสาธิตวิธีการตีก้อปลงหลุม  ดังนี้
1.      นักเรียนแบ่งกลุ่มเป็น 4 กลุ่ม
2.      ให้นักเรียนแต่ละคนใช้ไม้ตีลูก
บอลพลาสติกลงหลุมไม่เกิน 3 ครั้ง  ถ้าเกิน 3 ครั้งแล้วยังไม่ลงหลุม ถือว่าไม่ได้ลูก ให้คนต่อไปตีต่อวนจนครบทุกคน  กลุ่มไหนลูกบอลลงหลุมเยอะที่สุดชนะ
ใช้ :
-นักเรียนเล่นตีก้อปลงหลุม
เชื่อม : 
- ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาระดมความคิดเกี่ยวกับการละเล่นตีก้อปลงหลุม โดยครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด
นักเรียนรู้สึกอย่างไรขณะที่ใช้ไม้ตีลูกบอลลงหลุม
 ขณะที่เล่นนักเรียนเจอปัญหาและแก้ปัญหาที่เจออย่างไร?”
“ทำไมลูกบอลถึงวิ่งไม่ตรงหลุม”
 การเล่นตีก้อปลงหลุมมีประโยชน์หรือไม่? / มีประโยชน์อย่างไร?”
วันพฤหัสบดี(1ชั่วโมง)
ชง :
- ครูนำลูกโป่ง/ ขวดน้ำพลาสติก/ฝาขวดน้ำ 4 ฝา/ ไม้เสียบลูกชิ้น 2 ไม้ /หลอดการแฟ 5 หลอด และ เทปกาว มาให้นักเรียนดู
ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด  “นักเรียนเห็นอะไร?”   “นักเรียนคิดว่าลูกโป่งนำไปเล่นได้อย่างไร?”
เชื่อม :
- ครูและนักเรียนสนทนาเกี่ยวกับการนำลูกโป่งไปประดิษฐ์ของเล่นรถแข่งพลังลูกโป่ง
-ครูสาธิตขั้นตอนการทำ “รถแข่งพลังลูกโป่ง ”
    1.ตัดหลอดให้เท่ากัน 2 หลอดติดขวดน้ำเพื่อทำเภาล้อรถ
    2. ใช้ไม้ลูกชิ้นเสียบฝาขวดทำเป็นล้อ
    3. เจาะรูด้านบนขนาดเท่ากับเหรียญบาทแล้วนำหลอดเสียบทะแยงตรงรูที่เจาะทะลุผ่านปากขวด
4.นำลูกโป่งมาติดกับหลอดที่ตรงเราะเจาะให้แน่นด้วยเทปกาว
5. วิธีการเล่นคือ  เป่าลมผ่านหลอดตรงปากขวดให้ลูกโป่งพอง แล้วปล่อยลมออก  รถจะเคลื่อนที่เพราะแรงดันจากลูกโป่ง
ใช้ :
-นักเรียนทดลองทำรถแข่งพลังลูกโป่ง
เชื่อม :
- นักเรียนและครูสนทนาระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับการทดลองประดิษฐ์และทดลองเล่นรถแข่งพลังลูกโป่ง
โดยครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด  “นักเรียนสังเกตพบอะไรในการทดลองบ้าง”
“พบปัญหาในการประดิษฐ์ และทดลองรถแข่งพลังลูกโป่งหรือไม่/ อย่างไร? / และมีวิธีการแก้ปัญหาที่พบอย่างไร? ”
 “ ทำไมรถถึงเคลื่อนที่ได้ ”
วันศุกร์  ( 1  ชั่วโมง)
ชง :
- นักเรียนและครูสนทนาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับของเล่นที่นักเรียนเห็นภายในอาคารอนุบาล
ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด  ดังนี้
ของเล่นที่อาคารอนุบาลมีอะไรบ้าง?”
ของเล่นแต่ละชิ้นมีวิธีเล่นอย่างไร?”
นักเรียนมีข้อควรระวังอย่างไรการเล่นเพื่อไม่ให้เกิดอันตรายต่อตนเองและผู้อื่น?”
 ของเล่นมีประโยชน์ต่อตัวเราหรือไม่?”
นักเรียนได้รับอะไรจากการเล่น?”
ถ้าไม่ได้เล่นจะรู้สึกอย่างไร?
ถ้าไม่มีของเล่นจะทำอย่างไร?
เชื่อม
- ครูและนักเรียนสนทนาระดมความคิดเกี่ยวกับความแตกต่างกัน  ระหว่างของเล่นจากธรรมชาติ / ของเล่นที่ทำจากวัสดุเหลือใช้  และของเล่นสังเคราะห์
ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด ดังนี้
“สามารถจัดหมวดหมูหรือแยกประเภทของเล่นได้อย่างไร?”
“ ของเล่นจากธรรมชาติ / ของเล่นที่ทำจากวัสดุเหลือใช้  และของเล่นสังเคราะห์ มีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร? ”
“มีประโยชน์ และข้อควรระวังอย่างไร?”
โดยครูใช้เครื่องมือ Blackboard  Share
ใช้:
-นักเรียนเขียน Wepความแตกต่างของของเล่นจากธรรมชาติ/ของเล่นจากวัสดุเหลือใช้และของเล่นสังเคราะห์
ภาระงาน
- ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับการทดลองประดิษฐ์และทดลองเล่นรถแข่งพลังลูกโป่ง
- ระดมความคิดออกแบบวิธีการเล่นหนังยางเป็นกลุ่ม

- เล่นทอยเส้นตัวการ์ตูนยาง
เล่นเป่ากบเป็นคู่
- นักเรียนเล่นตีก้อปลงหลุม
ชิ้นงาน
-ใบงานเขียน Wepความแตกต่างของ ของเล่นจากธรรมชาติ  ของเล่นจากวัสดุเหลือใช้และของเล่นสังเคราะห์
-รถแข่งพลังลูกโป่ง

ความรู้ :
นักเรียนสามารถเรียนรู้วิธีการเล่นที่หลากหลาย / เล่นอย่างปลอดภัย /รู้จักการเก็บรักษาดูแลของเล่น อีกทั้งยังสามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้
ทักษะ :
** ทักษะชีวิต
-สามารถนำสิ่งต่างๆรอบตัวมาประยุกต์ให้เป็นของเล่นและเกิดประโยชน์ได้อย่างเหมาะสมกับวัย
- เลือกใช้เครื่องมือ เช่น ดินสอ สี กระดาษ ในการสร้างสรรค์ชิ้นงานได้อย่างคุ้มค่า และเหมาะสม
- สามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันและดูแลตนเองได้
** ทักษะการคิด
- คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการเดินสำรวจและการฟังนิทาน รวมทั้งสามารถเชื่อมโยงกับชีวิตประจำวันของตนเองได้
-  สามารถอธิบายให้เหตุผลเกี่ยวกับสิ่งที่ตนอยากเรียนรู้ได้
- คิดสร้างสรรค์ชิ้นงานเพื่อนำเสนอให้
ผู้อื่นเข้าใจได้
** ทักษะการอยู่ร่วมกัน
คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์และจัดการปัญหาในการทำงานกลุ่มและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
** ทักษะการสื่อสาร
อธิบายสิ่งที่ตนเอง/กลุ่ม เข้าใจและเรียนรู้ได้อย่างมีเหตุผลและน่าสนใจ
** ทักษะการสังเกต
- สังเกต  เข้าใจขั้นตอนในการเก็บเกี่ยวผลผลิตเพื่อนำมาประกอบอาหาร  วิธีการทำอาหาร และสามารถถ่ายทอดให้ผู้อื่นเข้าใจได้
** ทักษะการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
-สามารถค้นหาข้อมูลจากการสอบถาม ครูผู้ปกครองหรือผู้รู้เกี่ยวกับเรื่องที่ตนเองสนใจ
** ทักษะการอยู่ร่วมกันกับผู้อื่น
คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์และจัดการปัญหาในการทำงานกลุ่ม
คุณลักษณะ :
- เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่น
ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
- มีความรับผิดชอบและมุ่งมั่นในการทำงาน
- กระตือรือร้นในการเรียนรู้
   - มีจิตอาสาในการทำกิจกรรมต่างๆ มีน้ำใจช่วยเหลือ แบ่งปัน 
- ยินดีและพอใจในสิ่งที่ตนเองมี เคารพสิทธิซึ่งกันและกัน




























1 ความคิดเห็น:

  1. ในสัปดาห์ที่ 6 นี้มีการปรับเปลี่ยนกิจกรรมเพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้ซึ่งกันและกัน โดยครูใช้โจทย์ของเล่นที่นักเรียนอยากทำ และชอบเล่น เมื่อครูให้โจทย์นี้กับนักเรียนไปพี่อนุบาล 2 ก็ทบทวนของเล่นที่ตนเองชอบ พร้อมวิธีการประดิษฐ์สิ่งนั้น แล้วถ่ายทอดออกมาผ่านชิ้นงานตามความชอบของแต่ละคน เช่น Mind Mapping ,รูปภาพพร้อมบรรยายวิธีการทำ นักเรียนทุกคนเตรียมอุปกรณ์เป็นการบ้านเพื่อลงมือประดิษฐ์ในวันอังคาร ในชั่วโมงต่อมานักเรียนลงมือประดิษฐ์ของเล่นที่ตนเองชอบ และอยากทำ ก็มีบางส่วนที่ไม่ได้เตรียมอุปกรณ์มา ครูและนักเรียนจึงร่วมกันแก้ไขปัญหา โดยให้นักเรียนที่ไม่ได้เตรียมอุปกรณ์มาเลือกที่จะไปช่วยประดิษฐ์ของเล่นกับเพื่อนที่เตรียมอุปกรณ์มาและเล่นร่วมกัน เมื่อทุกคนประดิษฐ์เสร็จแล้วจึงได้ทดลองเล่นของเล่นที่ประดิษฐ์ขึ้นอย่างสนุกสนาน ทั้งปืนลูกโป่ง จรวดขวดน้ำ จรวดหลอดกาแฟ ปืนถัง บั้งโพละ และว่าว ในชั่วโมงของวันพุธนักเรียนได้แลกเปลี่ยนของเล่นที่ตนเองประดิษฐ์ให้กับเพื่อนเพื่อสนุกร่วมกัน แล้วสรุปของเล่นทำเองผ่านชิ้นงานอย่างสวยงาม วันพฤหัสบดีมีกิจกรรมผู้ปกครองอาสาได้พานักเรียนทำเชือกกระโดดจากหนังยาง นักเรียนทุกคนมีความสุขกับสิ่งที่ทำ และเล่นกับผู้ปกครองของเพื่อนๆ วันศุกร์นักเรียนสรุปความเข้าใจรายสัปดาห์ผ่านชิ้นงาน และนำเสนอตามความเข้าใจ ซึ่งนักเรีียนมีความพยายามในถ่ายทอดความเข้าใจสู่ผู้อื่นได้ดีมากขึ้นค่ะ

    ตอบลบ