แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้บูรณาการ (Problem
Based Learning) ( PBL.)
หน่วย : “ พิพิธภัณฑ์ของเล่น”
ระดับชั้นอนุบาลภาคเรียนที่
2 (Quarter 4 ) ปีการศึกษา 2558
เป้าหมายรายสัปดาห์ : นักเรียนสามารถนำความรู้ไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้
/มีลักษณะนิสัยที่ดีมีระเบียบวินัยในการจัดเก็บรักษา ดูแลของเล่นของใช้
ได้เหมาะสมตามวัย
|
||||
Week
|
Input
|
Process
|
Output
|
Outcome
|
8
29
ก.พ.
-
4
มี.ค.
59
|
โจทย์ :
- การละเล่นพื้นบ้าน 4 ภาค
เครื่องมือคิด
Key Questions
-การละเล่นพื้นบ้านแต่ละภาคมีอะไรบ้างและมีความแตกต่างกันอย่างไร? - ถ้าไม่มีอุปกรณ์ หรือของเล่นจะออกแบบการเล่นได้อย่างไร?
Brainstorms :
-สนทนาเกี่ยวกับการละเล่นพื้นบ้านของภาคกลาง
- สนทนาเกี่ยวกับการละเล่นพื้นบ้านของภาคใต้
-ระดมความคิดเกี่ยวกับการละเล่นที่ไม่ใช้อุปกรณ์
-สนทนาทบทวนกิจกรรมที่ผ่านมาทั้งสัปดาห์
และความเหมือน/ความแตกต่างกันของการละเล่นทั้ง 4 ภาค
Blackboard Share :
-ระดมความคิดเกี่ยวกับการละเล่นที่ไม่ใช้อุปกรณ์
-สนทนาระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับความเหมือนและความแตกต่างของการละเล่นทั้ง
4 ภาค
Show and Share :
-นำเสนอชิ้นงาน
Wall Thinking
:
- ติดชิ้นงาน
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
- ครู
- นักเรียน
-ผู้ปกครอง
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- บรรยากาศภายในชั้นเรียน
- บริเวณสนามกลางแจ้ง
- วงล้อไม้ไผ่
/ล้อรถ
- เชือก
-เล่นขว้างราว (ขวดยาคูล /ก้อนหิน และไม้ไผ่เป็นแผ่นขนาดกว้าง 2
นิ้ว ยาว 30 ซ.ม.)
|
วัน จันทร์ (1ชั่วโมง)
ชง :
-ครูนำวงล้อไม้ไผ่และล้อรถมาให้นักเรียนสังเกตดู
เชื่อม :
-
ครูและนักเรียนสนทนาเกี่ยวกับการละเล่นพื้นบ้านของภาคกลาง “การเล่นเล่นตีวงล้อ
” ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด
ดังนี้
“วงล้อที่ทำจากไม้กับวงล้อที่เป็นล้อรถมีความแตกต่างกันอย่างไร?”
“ นักเรียนจะออก แบบ วิธีการเล่นวงล้อไม้และวงล้อรถได้อย่างไร?
“ระหว่างวงล้อไม้ไผ่กับวงล้อรถ
อะไรจะกลิ้งได้เร็วกว่ากัน”
- ครูสาธิตการเล่นตีวงล้อ
ดังนี้
1. ครูแบ่งนักเรียนเป็น 2
กลุ่ม
2. กลุ่มที่
1 ใช้ไม้ตีวงล้อไม้ และกลุ่ม 2 ใช้ไม้ตีวงล้อรถ
ให้ถึงเป้าหมายแล้ววนกลับมาส่งต่อให้เพื่อนตนต่อไปจนครบทุกคนในกลุ่ม
3. แข่งกันอีกรอบแต่สลับอุปกรณ์ที่ใช้
ใช้ :
-นักเรียนเล่น “ตีลูกล้อ”
วันอังคาร (1ชั่วโมง)
ชง:
-ครูและนักเรียน ท่องคำคล้องจอง “การละเล่นไทย”
เชื่อม:
-
ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาเกี่ยวกับคำคล้องจอง“การละเล่นไทย” โดยครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “ ในคำคล้องจองมีการละเล่นอะไรบ้าง ?
ชง :
-ครูนำอุปกรณ์เชือกมาให้นักเรียนสังเกตดู
ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “เชือกนำไปทำอะไรได้บ้าง?”
เชื่อม :
-ครูและนักเรียนสนทนาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการละเล่น “ตีจั้บ”
-ครูสาธิตวิธีการเล่นให้นักเรียนเข้าใจ ดังนี้
1.ครูแบ่งนักเรียนออกเป็นสองฝ่าย ฝ่ายละเท่าๆกัน
2.
ครูใช้เชือกวางแบ่งเขตตรงกลาง
3.
ครูสร้างข้อตกลงกันว่าฝ่ายใดจะเป็นฝ่ายรุกไปก่อน
3.1
คนหนึ่งที่เป็นฝ่ายรุกจะเริ่มข้ามเขต
พอเข้าเขตฝ่ายตรงข้ามก็ต้องร้อง"ตี่"ไม่ให้ขาดเสียง
และวิ่งเอามือแตะตัวคนใดคนหนึ่งในฝ่ายรับ แต่จะหยุดหายใจไม่ได้ในขณะร้อง
"ตี่" นั้น
3.2
ฝ่ายรับก็จะพยายามจับคนที่ร้อง "ตี่" ไว้ ถ้าคนร้อง "ตี่"
เห็นว่าจะสู้ไม่ได้หรือจะต้องถอนหายใจ ต้องรีบถอยมาให้พ้นเส้นแบ่งเขต
ถ้าถอยไม่ทันผู้ร้อง"ตี่" หยุดถอนหายใจก็จะต้องถูกจับตัวไว้เป็นเชลย
แต่ถ้าคนที่ร้อง "ตี่" แตะตัวฝ่ายรับได้คนที่ถูกแตะก็เป็นเชลยฝ่ายนี้
ฝ่ายที่ได้เชลยก็จะส่งคนร้อง"ตี่"ไปแตะคนที่อยู่ฝ่ายตรงข้ามอีก ถ้ายังจับไม่ได้ก็ผลัดกันรุกคนละครั้ง
จนกว่าจะกวาดเชลยได้หมดก็ขึ้นตาใหม่
ใช้ :
- ครูและนักเรียนเล่นตี่จั้บ
วันพุธ ( 1 ชั่วโมง)
ชง :
- ครูและนักเรียนร่วมกันท่องคำคล้องจอง “การละเล่นจ้ำจี้ /บ้านทรายทอง / ยาหย่าย่า ”
เชื่อม:
- ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาเกี่ยวกับคำคล้องจอง
-นักเรียนและครูระดมความคิดเกี่ยวกับการละเล่นที่ไม่ต้องใช้อุปกรณ์ โดยครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด
“
ถ้าไม่มีอุปกรณ์ หรือของเล่นจะออกแบบการเล่นได้อย่างไร?”
-
ครูแบ่งนักเรียนเป็น 5 กลุ่ม
ให้ออกแบบการเล่นที่ไม่ต้องใช้อุปกรณ์กลุ่มละ 1 อย่างโดยไม่ซ้ำกัน
ใช้ :
- นักเรียนนำเสนอการเล่นที่ไม่ใช้อุปกรณ์ กลุ่มละ 1 อย่าง
-นักเรียนแตก Web การละเล่นพื้นบ้านที่ไม่ต้องใช้อุปกรณ์
วันพฤหัสบดี(1ชั่วโมง)
ชง :
-
ครูนำขวดยาคูล /ก้อนหิน และไม้ไผ่เป็นแผ่นขนาดกว้าง 2 นิ้ว ยาว 30
ซ.ม.มาให้นักเรียนดู ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด
“นักเรียนเห็นอะไร” “นักเรียนคิดว่าของ 2 อย่างนี้สามารถนำไปเล่นอะไรได้บ้าง?”
เชื่อม :
-
ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการละเล่นของเด็กภาคใต้ “ เล่นขว้างราว”
-ครูสาธิตวิธีการเล่นขว้างราว ดังนี้
1.ครูนำราวไม้ไผ่มาตั้งโดยมีหินรองปลายราวทั้ง2
ข้างให้สูงจากพื้นดินประมาณ 3 นิ้ว
แล้วขีดเส้นเป็นเขตสำหรับยืนขว้างให้ห่างจากราวประมาณ 5 เมตร
2.นำขวดยาคูลไปวางบนราว
3.ให้นักเรียนขว้างทีละคนให้แผ่นไม้คว่ำถือว่าจบเกม
แต่ถ้าขว้างถูกขวดล้มแต่ราวไม้ไผ่ไม่คว่ำ ผู้เล่นคนต่อไปก็มาขว้างต่อจนกว่าจะคว่ำ
ใช้ :
-นักเรียนเล่นขว้างราว
วันศุกร์ ( 1
ชั่วโมง)
เชื่อม:
- ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาทบทวนกิจกรรมที่ผ่านมาทั้งสัปดาห์ และสนทนาระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับความเหมือนและความแตกต่างของการละเล่นทั้ง
4 ภาค
ใช้:
- นักเรียนแตก Web เกี่ยวกับความเหมือนและความแตกต่างของการละเล่นทั้ง
4 ภาค
|
ภาระงาน
-สนทนาเกี่ยวกับการละเล่นพื้นบ้านของภาคกลาง และภาคใต้
-เล่น “ขว้างราว”
- เล่น “
ตีลูกล้อ ”
- เล่น “ ตี่จั้บ ”
- นำเสนอการละเล่นที่ไม่ต้องใช้อุปกรณ์ กลุ่มละ 1
อย่าง
ชิ้นงาน
-นักเรียนแตก Web การละเล่นที่ไม่ใช้อุปกรณ์
- นักเรียนแตก Web เกี่ยวกับความเหมือนและความแตกต่างของการละเล่นทั้ง
4 ภาค
|
ความรู้ :
-
นักเรียนสามารถนำความรู้ไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้
/มีลักษณะนิสัยที่ดีมีระเบียบวินัยในการจัดเก็บรักษา ดูแลของเล่นของใช้
ได้เหมาะสมตามวัย
ทักษะ
:
** ทักษะชีวิต
- เลือกใช้เครื่องมือ เช่น ดินสอ สี
กระดาษ ในการสร้างสรรค์ชิ้นงานได้อย่างคุ้มค่า และเหมาะสม
-
สามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันและดูแลตนเองได้
** ทักษะการคิด
- คิดวิเคราะห์ /
สังเคราะห์สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการเดินสำรวจและการฟังนิทาน
รวมทั้งสามารถเชื่อมโยงกับชีวิตประจำวันของตนเองได้
-
สามารถอธิบายให้เหตุผลเกี่ยวกับสิ่งที่ตนอยากเรียนรู้ได้
- คิดสร้างสรรค์ชิ้นงานเพื่อนำเสนอให้
ผู้อื่นเข้าใจได้
** ทักษะการอยู่ร่วมกัน
คิดวิเคราะห์
/สังเคราะห์และจัดการปัญหาในการทำงานกลุ่มและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
** ทักษะการสื่อสาร
อธิบายสิ่งที่ตนเอง/กลุ่ม
เข้าใจและเรียนรู้ได้อย่างมีเหตุผลและน่าสนใจ
**
ทักษะการสังเกต
สังเกตความเหมือนความแตกต่างสิ่งต่างๆ
โดยรวมทั้งสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิต และสามารถถ่ายทอดความรู้ให้ผู้อื่นเข้าใจได้
** ทักษะการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
สามารถค้นหาข้อมูลจากการสอบถาม
ครูผู้ปกครองหรือผู้รู้เกี่ยวกับเรื่องที่ตนเองสนใจ
**
ทักษะการอยู่ร่วมกันกับผู้อื่น
คิดวิเคราะห์
สังเคราะห์และจัดการปัญหาในการทำงานกลุ่ม
คุณลักษณะ
:
-
เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่น
- ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
- มีความรับผิดชอบและมุ่งมั่นในการทำงาน
- กระตือรือร้นในการเรียนรู้
- มีจิตอาสาในการทำกิจกรรมต่างๆ
มีน้ำใจช่วยเหลือ แบ่งปัน
-
ยินดีและพอใจในสิ่งที่ตนเองมี เคารพสิทธิซึ่งกันและกัน
|
ในสัปดาห์ที่ 8 นี้พี่ฟ้า และพี่หญิง ชั้นม.3 อาสามาทำกิจกรรมกับพี่ๆอนุบาล 2 เล่นเกมต่างๆเช่น มอญซ่อนผ้า เก็บเบี้ย วิ่งเปรียว และวิ่งสามขา ทุกคนให้ความร่วมมือดีกับกิจกรรมที่พี่จัดขึ้น จึงมีความสุข สนุกสนานไปกับการเล่น จากนั้นนักเรียนได้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันเกี่ยวกับการดูแลรักษาของเล่นตามความคิดเห็นของตนเอง เช่นพี่ฟอร์ด “การโยนของเล่นขึ้นต้นไม้เป็นสิ่งที่ไม่ดีครับ” พี่โชว์ “นำของเล่นที่พังแล้วไปประดิษฐ์เป็นของเล่นใหม่ครับ” พี่หยก “ของเล่นที่ชำรุดเราควรนำมาซ้อมค่ะ” พี่แก้ม “เล่นของเล่นแล้วเก็บเข้าที่เดิมค่ะ” ครูช่วยเขียนสิ่งที่นักเรียนช่วยกันคิดบนกระดาน นักเรียนสรุปสิ่งที่แลกเปลี่ยนร่วมกันในรูปแบบของ Web “การดูแลรักษาของเล่น” พร้อมตกแต่งระบายสีให้สวยงาม ในวันศุกร์นักเรียนนำเสนอสิ่งที่ได้เรียนรู้ตลอดทั้งสัปดาห์เป็นกลุ่ม นักเรียนทุกกลุ่มตั้งใจนำเสนอมากเห็นได้จากเวลาซ้อมที่ตั้งใจแบ่งหน้าที่กันทุกคน เมื่อถึงเวลานำเสนอนักเรียนสามารถถ่านทอดความเข้าใจได้ดี มีผู้พูดและผู้ฟังที่ดีจนครบทุกกลุ่มค่ะ
ตอบลบ