หน่วย พิพิธภัณฑ์ของเล่น

เป้าหมาย (Understanding Goal)
นักเรียนเห็นคุณค่าของของเล่น /การละเล่น / ธรรมชาติและสิ่งต่างๆรอบตัว อีกทั้งยังสามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้ เช่น การนำเอาวัสดุจากธรรมชาติรอบตัวมาประดิษฐ์เป็นของเล่นได้ พร้อมทั้งรู้จักเลือกเล่น/เล่นของเล่นให้เหมาะสมกับตนเอง เรียนรู้วิธีการเล่นให้ปลอดภัย

week5



แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้บูรณาการ (Problem  Based  Learning) ( PBL.
หน่วย : “ พิพิธภัณฑ์ของเล่น”

ระดับชั้นอนุบาลภาคเรียนที่ (Quarter 4 )  ปีการศึกษา  2558

เป้าหมายรายสัปดาห์  :  นักเรียนสามารถถ่ายทอดความเข้าใจผ่านการประดิษฐ์ของเล่นแบบต่าง ๆ  และสามารถนำวัสดุในท้องถิ่นและวัสดุเหลือใช้มาประดิษฐ์ของเล่นได้อย่าง   หลากหลาย
Week
Input
Process
Output
Outcome
5

8-12ก.. 59
โจทย์ :
ของเล่นจากวัสดุเหลือใช้
  -กระดาษ /ขวดพลาสติก/ไม้ไอติม /แผ่น CD
 เครื่องมือคิด
Key  Questions
- นักเรียนจะสามารถออกแบบและประดิษฐ์ของเล่นจากวัสดุเหลือใช้ให้มีคุณค่า มีประโยชน์และเหมาะสมกับตนเองอย่างไร
- นักเรียนได้เรียนรู้อะไรจากของเล่นที่ทำจากวัสดุเหลือใช้
- นักเรียนสามารถนำวัสดุเหลือใช้ไปประดิษฐ์ของเล่นอะไรได้บ้าง
?
- นักเรียนมีข้อควรระวังในการเล่นของเล่นอย่างไร?

-นักเรียนจะเลือกเล่นของเล่นอย่างไรให้เหมาะกับตนเอง?
Brainstorms :
- ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับขั้นตอนการพับสิ่งที่สังเกตเห็นและปัญหาที่พบในการพับและทดลองร่อนจรวด
-สนทนาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการสังเกตผลการทดลองเล่นรถถัง” 
-สนทนาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการเล่นลูกข่างจากแผ่นCD
-สนทนาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับขั้นตอนการทำขวดหนังสะติ๊ก/วิธีการเล่น/ปัญหาที่พบและสังเกตเห็น
Blackboard  Share :
- แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับขั้นตอนการทำ/วิธีการเล่น/ปัญหาที่พบและสิ่งที่สังเกตเห็นในการทดลองเล่นขวดหนังสะติ๊ก
Show and Share :
- นำเสนอชิ้นงาน
Wall Thinking :
ติดชิ้นงาน
- ใบงานแตก
Wep  ขั้นตอนการทำ/วิธีการเล่น/ปัญหาที่พบและสิ่งที่สังเกตเห็นในการทดลองเล่น
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
- ครู
- นักเรียน
-ผู้ปกครอง
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- บรรยากาศภายในชั้นเรียน
-บรรยากาศภายนอกชั้นเรียน
ประดิษฐ์รถถัง (ไม้ไอติม/ที่หนีบผ้า /ปืนกาว /ฝาขวดน้ำ / เมล็ดมะขาม บล็อกไม้ )
-ประดิษฐ์ (แผ่นCD / ลูกแก้ว / ดินน้ำมัน / กระดาษA4 /สีไม้)
-ประดิษฐ์หนังสะติ๊กขวดน้ำ (ขวดน้ำ  /หนังยาง /เชือก /ลูกปิงปอง)

วัน จันทร์ (1ชั่วโมง)
ชง  : 
ครูนำกระดาษมาให้นักเรียนดู ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนเห็นอะไร?”  “ กระดาษสามารถนำมาทำเป็นของเล่นอะไรได้บ้าง? ”
เชื่อม :
- ครูและนักเรียนสนทนาระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับของเล่นจากกกระดาษ 
-ครูสาธิตขั้นตอนการพับกระดาษเป็นจรวดให้นักเรียนดู
   ดังนี้

ใช้ :

-นักเรียนพับจรวด
- ทดลองร่อนจรวด
เชื่อม :
- ครูและนักเรียนระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับขั้นตอนการพับสิ่งที่สังเกตเห็นและปัญหาที่พบในการพับและทดลองร่อนจรวด
**การบ้าน //  ครูให้นักเรียนเตรียมไม้ไอติมคนละ3อันมาโรงเรียนในวันอังคาร
วันอังคาร (1ชั่วโมง)
ชง  :
- ครูนำของเล่น”รถถัง”  และ อุปกรณ์การทำ (ไม้ไอติม/ที่หนีบผ้า /ปืนกาว /ฝาขวดน้ำ / เมล็ดมะขาม บล็อกไม้ ) มาให้นักเรียนสังเกตดู
เชื่อม :
- ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับของเล่น ”รถถัง”   ครูใช้คำถามกระตุ้น “นักเรียนเห็นอะไร? /มีลักษณะคล้ายอะไร? / เคยเห็นที่ไหน ?/  มีประโยชน์อย่างไร?”
- ครูสาธิตขั้นตอนการประดิษฐ์ รถถัง”  ดังนี้
  1.นำที่หนีบผ้ายึดติดกับฐานไม้บล็อกด้วยกาวร้อน
   2.และนำไม้ไอติมมายึดติดกับไม้หนีบผ้า
   3.และนำฝาขวดน้ำมายึดติดกับไม้ไอติม
   4.วิธีการเล่น  นำเมล็ดมะขามวางบนฝาขวดน้ำแล้วดีดให้เมล็ดมะขามกระเด้งไปให้ไกลที่สุด
 ใช้ :
- นักเรียนประดิษฐ์ “รถถัง” 
- ทดลองเล่น
**การบ้าน //ครูให้นักเรียนเตรียมแผ่น CD ที่ไม่ใช้แล้วมาโรงเรียนในวันอังคารคนละ 1 แผ่น
วันพุธ ( 1 ชั่วโม)
ชง:
- ครูนำแผ่นซีดี,กระดาษA 4 , สีไม้, ลูกแก้ว  มาให้นักเรียนสังเกต
 -  ครูและนักเรียนสนทนาเกี่ยวกับวัสดุเหลือใช้โดยครูตั้งคำถามกระตุ้นให้คิด “นักเรียนเห็นอะไรบ้าง?” “คิดว่าอุปกรณ์ที่เห็นสามารถทำอะไรได้บ้าง?”
“นักเรียนคิดว่าลูกแก้วเกิดอันตรายได้หรือไม่ นักเรียนมีวิธีเล่นอย่างไรให้ปลอดภัย?”
เชื่อม:
-ครูนำลูกข่างมาให้นักเรียนดูและสัมผัส และครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด  “เราสามารถทำลูกข่างเล่นเองโดยใช้วัสดุอะไรได้บ้าง?”
- ครูสาธิตวิธีการทำลูกข่างจากแผ่นซีดี   ดังนี้
   1.ครูให้นักเรียนวาดวงกลมตามแผ่นซีดีแล้วใช้กรรไกรตัด จากนั้นพับครึ่ง 4 ครั้ง ให้เป็นรอยช่อง 8 ช่องระบายสีให้สวยงาม
    2. นำกระดาษวงกลมเจาะตรงกลางตามรูซีดี แล้วแปะติดกระดาษลงแผ่นซีดี
   3. นำลูกแก้วปิดที่รูแผ่นซีดีแล้วใช้ดินน้ำมันแปะติดอีกฝั่งของลูกแก้วเพื่อติดเป็นที่สำหรับจับหมุน
ใช้ :
- นักเรียนทดลองทำและเล่นลูกข่างจากแผ่นซีดี
เชื่อม
- ครูและนักเรียนสนทนาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการเล่นลูกข่างจากแผ่นซีดี  โดยครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “ขณะที่หมุนลูกข่างสังเกตเห็นอะไรบ้าง” “ขณะที่ลูกข่างหมุนนักเรียนมองเห็นสีกี่สี/เพราะอะไร?”
** การบ้าน // ครูให้นักเรียนเตรียมขวดน้ำเปล่ามาโรงเรียนในวันพฤหัสบดีคนละ 1 ใบ
วันพฤหัสบดี(1ชั่วโมง)
ชง :
- ครูนำหนังสะติ๊กขวดน้ำ และอุปกรณ์สำหรับทำได้แก่  ขวดน้ำ  /หนังยาง /เชือก และลูกปิงปองมาให้นักเรียนสังเกตดู 
เชื่อม:
-ครูและนักเรียนสนทนากันเกี่ยวกับหนังสะติ๊ก ขวดน้ำ และ   อุปกรณ์ที่ใช้ทำ
 โดยครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด
“ทำหนังสะติ๊กจากอะไรได้บ้าง? ”
“ ขวดน้ำสามารถนำไปทำของเล่นได้บ้าง? ”
- ครูสาธิตวิธีการทำของเล่น “ขวดหนังสะติ๊ก”  ดังนี้   1.ตัดขวดเป็น 2 ท่อน
          2.ใช้หนังยางมัดด้านข้างขวดทั้ง2 ข้าง
          3.ร้อยเชื่อผ่านทางฝาขวดสำหรับดึงเพื่อยิงลูกปิงปอง
ใช้ :
- นักเรียนทดลองประดิษฐ์ขวดหนังสะติ๊ก 
-นักเรียนทดลองเล่นขวดหนังสะติ๊ก
เชื่อม :
ครูและนักเรียนสนทนาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับขั้นตอนการทำขวดหนังสะติ๊ก/วิธีการเล่น/ปัญหาที่พบและสังเกตเห็น    โดยครูใช้คำถาม ดังนี้
“หนังสะติ๊กขวดมีขั้นตอนการทำอย่างไร?”
 “อะไรที่ทำให้ลูกปิงปองพุ่งออกไปด้านหน้า?”
“ถ้าเราใช้กระดาษปั้นเป็นก้อนกลม ๆแทนลูกปิงปอง กระดาษจะพุ่งไปด้านหน้าเหมือลูกปิงปองหรือไม่ เพราะอะไร?”
“ขณะที่ยิงลูกปิงปอง นักเรียนรู้สึกอย่างไร  และสังเกตเห็นอะไรบ้าง?”
ใช้ :
- นักเรียนทำ ใบงานแตก Wep  ขั้นตอนการทำ/วิธีการเล่น/ปัญหาที่พบและสิ่งที่สังเกตเห็นในการทดลองเล่นขวดหนังสะติ๊ก
วันศุกร์  ( 1  ชั่วโมง)
เชื่อม:
- ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นทบทวนสิ่งที่เรียนรู้ทั้งสัปดาห์เกี่ยวกับวัสดุที่สามารถนำมาประดิษฐ์ของเล่นได้ 
 ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด   
 “ นักเรียนจะนำเสนอชิ้นงานที่ประดิษฐ์อย่างไรให้น่าสนใจ”
-นักเรียนแบ่งกลุ่มนำเสนอชิ้นงาน
ใช้:
- Show and Share
- นักเรียนนำเสนอชิ้นงานเป็นกลุ่ม
ภาระงาน
ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับขั้นตอนการพับสิ่งที่สังเกตเห็นและปัญหาที่พบในการพับและทดลองร่อนจรวด
- ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับขั้นตอนการทำ/วิธีการเล่น/ปัญหาที่พบและสิ่งที่สังเกตเห็นในการทดลองขวดหนังสะติ๊ก
-นักเรียนเตรียมไม้ไอติม คนละ 3 อัน มาทำรถถังใ
-นักเรียนเตรียมแผ่น CD มาทำลูกข่าง
-นักเรียนเตรียมขวดน้ำพลาสติตมาทำหนังสะติ๊ก
ชิ้นงาน
-พับจรวด/พับจี้จั้บ
-ลูกข่างจากแผ่นซีดี
หนังสะติ๊กจากขวดน้ำ
- รถถังจากไม้ไอติม
ใบงานแตก Wep  ขั้นตอนการทำ/วิธีการเล่น/ปัญหาที่พบและสิ่งที่สังเกตเห็นในการทดลองเล่นขวดหนังสะติ๊ก

ความรู้ :
นักเรียนสามารถถ่ายทอดความเข้าใจผ่านการประดิษฐ์ของเล่นแบบต่าง ๆ  และสามารถนำวัสดุในท้องถิ่นและวัสดุเหลือใช้มาประดิษฐ์ของเล่นได้อย่างหลากหลาย
ทักษะ :
** ทักษะชีวิต
-สามารถนำสิ่งต่างๆรอบตัวมาประยุกต์ให้เป็นของเล่นและเกิดประโยชน์ได้อย่างเหมาะสมกับวัย
- เลือกใช้เครื่องมือ เช่น ดินสอ สี กระดาษ ในการสร้างสรรค์ชิ้นงานได้อย่างคุ้มค่า และเหมาะสม
- สามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันและดูแลตนเองได้
** ทักษะการคิด
- คิดวิเคราะห์/สังเคราะห์/แก้ปัญหา สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการลงมือทำ
-สามารถแยกแยะส่วนประกอบต่างๆ รวมทั้งสามารถเชื่อมโยงกับชีวิตประจำวันของตนเองได้
-  สามารถอธิบายให้เหตุผลเกี่ยวกับสิ่งที่ตนอยากเรียนรู้ได้
- คิดสร้างสรรค์ชิ้นงานเพื่อนำเสนอให้
ผู้อื่นเข้าใจได้
** ทักษะการอยู่ร่วมกัน
คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์และจัดการปัญหาในการทำงานกลุ่มและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
** ทักษะการสื่อสาร
อธิบายสิ่งที่ตนเอง/กลุ่ม เข้าใจและเรียนรู้ได้อย่างมีเหตุผลและน่าสนใจ
** ทักษะการสังเกต
สังเกตลักษณะของพืชผัก สิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดว่ามีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร และสามารถถ่ายทอดให้ผู้อื่นเข้าใจได้
** ทักษะการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
สามารถค้นหาข้อมูลจากการสอบถาม ครูผู้ปกครองหรือผู้รู้เกี่ยวกับเรื่องที่ตนเองสนใจ
** ทักษะการอยู่ร่วมกันกับผู้อื่น
คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์และจัดการปัญหาในการทำงานกลุ่ม
คุณลักษณะ :
- เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่น
ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
- มีความรับผิดชอบและมุ่งมั่นในการทำงาน
- กระตือรือร้นในการเรียนรู้
- มีจิตอาสาในการทำกิจกรรมต่างๆ มีน้ำใจช่วยเหลือ แบ่งปัน 
- ยินดีและพอใจในสิ่งที่ตนเองมี เคารพสิทธิซึ่งกันและกัน








                                                                                                                                                                                                ภาพกิจกรรม  


พับกระดาษ




เล่นรถถัง















      

    
ประดิษฐ์ไม้ตีปิงปอง



กังหันลมจากไม้ไผ่




     






      ภาพชิ้นงาน


   










1 ความคิดเห็น:

  1. บันทึกหลังสอน สัปดาห์ที่ 5
    นักเรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับของเล่นจากวัสดุเหลือใช้ วันจันทร์นักเรียนเรียนรู้เกี่ยวกับของเล่นจากกระดาษนักเรียนสามารถบอกประโยชน์ของกระดาษได้หลากหลาย ครูให้นักเรียนพับ จรวดและจี้จั้บ แล้วทดลองเล่นสังเกตได้ว่านักเรียนเกิดความรับผิดชอบรู้จักดูแลของเล่นได้ดี วันอังคารนักเรียนทำของเล่นจากไม้ไอติมและฝาขวดน้ำ ครูให้นักเรียนประดิษฐ์รถถังโดยให้ชุดอุปกรณ์ไปประกอบเองและทดลองเล่นโดยนักเรียนดูต้นแบบวิธีการทำจากครู นักเรียนสามารถประกอบรถถังได้ในรูปแบบของตนเอง นักเรียนมีความคิดสร้างสรรค์ รู้จักวางแผนและแก้ปัญหาในการทำชิ้นงานของตนให้ดูโดเด่นได้ดีเยี่ยม วันพุธมีการปรับเปลี่ยนกิจกรรมตามแผนจากกิจกรรมทำลูกข่างจากแผ่นซีดี มาเป็นประดิษฐ์ไม้ปิงปองทำจากแผ่นฟิวส์เจอร์บอด ครูให้นักเรียนเตรียมลูกปิงปองมาจากบ้านคนละ 1 ลูก มีบางคนที่ไม่ได้เอามา ครูให้นักเรียนช่วยกันหาวิธีแก้ปัญหาโดยให้โจทย์ดังนี้ “จะทำอย่างไรถ้าเราไม่มีลูกปิงปอง” เช่น พี่ฟอร์ดและพี่เต้ // “ครูครับเราก็เล่นกันหลายๆคนตีด้วยกันก็ได้ครับ” พี่ป๋อ //“ครูครับเอากระดาษมาทำเป็นลูกปิงปองแล้วตีแทนก็ได้ครับ” พี่นโม// “ผมเอามา ผมจะแบ่งเพื่อนเล่นครับ” พี่แป้ง// “เป็นเพื่อนกันต้องแบ่งกันเล่นค่ะ เล่นหลายๆคนก็สนุกดีค่ะ” พี่ป้// “ผมจะเอาเม็ดมะขามมาตีแทนลูกปิงปองครับ วันพฤหัสฯ ผู้ปกครองอาสาพานักเรียนประดิษฐ์กังหันลมจากไม้ไผ่หรือภาษาถิ่นเรียกของเล่นชิ้นนี้ว่า “บักปิ่น” เป็นของเล่นพื้นบ้านที่ผู้ปกครองอยากให้ลูกๆได้เรียนรู้โดยคุณตาพี่ป๋อได้เหลาตอกแบนๆหน้ากว้าง 1 ซ.ม. มาสอนให้หลานๆสานให้เป็นกังหัน พี่ป๋อบอกว่า “ครูครับป๋อทำเป็น เดี๋ยวป๋อจะสอนเพื่อนทำด้วย เพราะคุณตาป๋อพาป๋อทำเล่นตั้งหลายทีแล้วครับ” จากการทดลองเล่นกังหันไม้ไผ่นักเรียนได้เรียนรู้การหมุนของกังหันที่อาศัยแรงลม โดยการเอาไปใกล้ๆพัดลมและวิ่งเร็ว ๆ ให้ใบพัดหมุน เช่น พี่โชว์ // ครูครับผมต้องวิ่งเร็ว ๆ มันถึงจะหมุน ถ้าวิ่งช้า ๆ มันหมุนนิดเดียว พี่การ์ฟิวส์// ครูครับผมไม่อยากวิ่ง มันเหนื่อย ผมเลยเอาไปใส่พัดลม มันก็หมุนอย่างเร็วเลยครับ ไม่ต้องวิ่งให้เหนื่อย วันศุกร์ นักเรียนสรุปการเรียนรู้ทั้งสัปดาห์ นักเรียนสามารถบอกวิธีการทำของเล่นและวิธีการเล่นที่ถูกวิธี รวมถึงปัญหาที่พบในการเล่นของเล่นแต่ละชนิด

    ตอบลบ