หน่วย พิพิธภัณฑ์ของเล่น

เป้าหมาย (Understanding Goal)
นักเรียนเห็นคุณค่าของของเล่น /การละเล่น / ธรรมชาติและสิ่งต่างๆรอบตัว อีกทั้งยังสามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้ เช่น การนำเอาวัสดุจากธรรมชาติรอบตัวมาประดิษฐ์เป็นของเล่นได้ พร้อมทั้งรู้จักเลือกเล่น/เล่นของเล่นให้เหมาะสมกับตนเอง เรียนรู้วิธีการเล่นให้ปลอดภัย

Week2


แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้บูรณาการ (Problem  Based  Learning) ( PBL.
หน่วย : “ พิพิธภัณฑ์ของเล่น”

ระดับชั้นอนุบาลภาคเรียนที่ (Quarter 4 )  ปีการศึกษา  2558
เป้าหมายรายสัปดาห์    นักเรียนสามารถอธิบายและตั้งคำถามเมื่อแสดงความคิดเห็น เกี่ยวกับสิ่งที่เห็น/ฟัง และบอกสิ่งที่ตนเองรู้ /อยากเรียนรู้ ได้อย่างน่าสนใจ
Week
Input
Process
Output
Outcome
         2

18 - 22
ม.ค.59





โจทย์ :
-  การวางแผนการเรียนรู้
เครื่องมือคิด
Key  Question
นักเรียนจะออกแบบแผนการเรียนรู้ในQ.4
 อย่างไรให้มีความสุข ?
นักเรียนรู้อะไรบ้างเกี่ยวกับของเล่น
-นักเรียนอยากเรียนรู้อะไรเกี่ยวกับ “ของเล่น” ?
Brainstorms :
- ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่รู้แล้วและอยากเรียนรู้
ระดมความคิดในการจัดกลุ่มความสนใจที่นักเรียนอยากเรียนรู้และตั้งชื่อหน่วย
-สนทนาระดมความคิดเกี่ยวกับการประดิษฐ์หุ่นยนต์จากกล่องกระดาษ
Card  and  Chart  :
- นักเรียนวาดภาพสิ่งที่อยากเรียนรู้และสิ่งที่รู้เกี่ยวกับของเล่น
Blackboard Share :
-ระดมความคิดเห็นสิ่งที่รู้แล้วและอยากเรียนรู้เกี่ยวกับของเล่น
ระดมความคิดในการจัดกลุ่มความสนใจที่นักเรียนอยากเรียนรู้  
- สนทนาระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับการทดลองทำแป้งโดว์
Show and Share :
  - นำเสนอชิ้นงาน
Wall Thinking
 - ติดชิ้นงาน
หุ่นยนต์จากกล่องกระดาษ/ภาพวาดสิ่งที่อยากเรียนรู้และสิ่งที่รู้เกี่ยวกับของเล่น
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
- ครู
- นักเรียน
สื่อและแหล่งเรียนรู้  :
- บรรยากาศภายในห้องเรียน
นิทานเรื่อง “ของขวัญจากคุณพ่อ
 -นิทานเรื่อง “คนจิ๋วตัวเล็กกับของชิ้นใหญ่
- อุปกรณ์ประดิษฐ์หุ่นยนต์(กล่อง/กาง /กรรไกร/กระดาษสี)
-อุปรณ์ทดลองทำแป้งโดว์ (น้ำมันฃพืช / สีผสมอาหาร/แป้งเอนกประสงค์/เกลือ /น้ำร้อน)

วัน จันทร์ (1ชั่วโมง)
ชง:
- ครูเล่านิทานเรื่อง “ของขวัญจากคุณพ่อ”
เพื่อสร้างแรงบัลดาลใจและเชื่อมโยงเข้าสู่การเลือกหัวเรื่องที่นักเรียนอยากเรียนรู้  ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด
“คุณพ่อประดิษฐ์อะไรเป็นของขวัญให้น้องกล้าในวันเกิด ?”
“ถ้านักเรียนเป็นคุณพ่อจะประดิษฐ์อะไรให้น้องกล้า?”
เชื่อม :
- นักเรียนร่วมกันระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ตนเองอยากเรียนรู้ และร่วมกันสรุปสิ่งที่อยากเรียนรู้โดยใช้วิธีการ   Blackboard  Share
ใช้ :
-  นักเรียนวาดภาพและเขียนสิ่งที่ตนเองอยากเรียนรู้
วันอังคาร (1ชั่วโมง)
ชง:
- ครูเล่านิทานเรื่อง คนจิ๋วตัวเล็กกับของชิ้นใหญ่
เชื่อม:
- ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาเกี่ยวกับนิทานที่ฟัง
- ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาทบทวนสิ่งที่นักเรียนอยากเรียนรู้เกี่ยวกับของเล่น
 - ครูและนักเรียนช่วยกันระดมความคิดในการจัดกลุ่มความสนใจที่นักเรียนอยากเรียนรู้
- ครูและนักเรียนช่วยกันนำเสนอชื่อเรื่องที่น่าสนใจโดยใช้เครื่องมือ  Blackboard  Share :
ชง :
ครูนำกล่องยาสีฟันมาให้นักเรียนดู ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนคิดว่ากล่องยาสีฟันหรือกล่องต่าง ๆ สามารถนำมาทำของเล่นอะไรได้บ้าง?”
-ครูให้นักเรียนเตรียมกล่องขนาดต่าง ๆ มาโรงเรียนในวันพุธ เพื่อนำมาประดิษฐ์หุ่นยนต์
วันพุธ ( 1 ชั่วโมง)
ชง  :
-ครูแนะนำกล่องมาให้นักเรียนสังเกต และแนะนำอุปกรณ์
กล่อง  /กาว  / กรรไกร / กระดาษสี
เชื่อม :
 -ครูและนักเรียนสนทนาเกี่ยวกับขั้นตอนการทำหุ่นยนต์  โดยครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด
อุปกรณ์ที่นำมาทำหุ่นยนต์มีอะไรบ้าง?”
“เราจะออกแบบหุ่นยนต์อย่างไรไรให้สวยงามและแข็งแรง””
- ครูแบ่งกลุ่มนักเรียน 5  กลุ่มเพื่อระดมความคิดเพื่อออกแบบหุ่นยนต์
- ครูสาธิตขั้นตอนการทำหุ่นยนต์จากกล่อง  ดังนี้
 นำกล่องมาต่อกันเป็นรูปร่างหุ่นยนต์แล้วใช้กระดาษสีตกแต่งให้สวยงาม
ใช้ :  
-นักเรียนแต่ละกลุ่มประดิษฐ์หุ่นยนต์ร่วมกัน
เชื่อม:
-ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาเกี่ยวกับการประดิษฐ์หุ่นยนต์โดยครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด ดังนี้
“นักเรียนพบปัญหาในการสร้างหุ่นยนต์อย่างไร  /  เพราะอะไร  /  นักเรียนมีวิธีการแก้ไขปัญหาอย่างไรบ้าง?  / นักเรียนคิดว่าหุ่นยนต์ของกลุ่มตนเองสามารถพัฒนาเพิ่มขึ้นได้อีกอย่างไร?”
 “ นักเรียนคิดว่าการประดิษฐ์หุ่นยนต์หรือของเล่นเพื่อเล่นเอง มีประโยชน์อย่างไรบ้าง?”
***การบ้าน //  ครูให้นักเรียนเตรียมแป้งเอนกประสงค์ 1ถ้วยตวง / เกลือ/นำมันพืช /สีผสมอาหาร เพื่อมาทดลองทำแป้งโดว์มาโรงเรียนในวันพฤหัสบดี
วันพฤหัสบดี(1ชั่วโมง)
ชง :
 - ครูแนะนำอุปกรณ์ ทีละอย่างแล้วให้นักเรียนทดลองดู/สัมผัส ได้แก่  แป้งเอนกประสงค์  / นำมันพืช /สีผสมอาหาร/เกลือ/ น้ำร้อน
โดยครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด  “นักเรียนเห็นอะไรบ้าง?”  “ คิดว่ามีประโยชน์อย่างไร? สามารถนำไปทำอะไรได้บ้าง”
เชื่อม:
-ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่เห็นและสัมผัส
-ครูแนะนำกิจกรรมการทดลองทำแป้งโดว์
-ครูแบ่งกลุ่มนักเรียน  5  กลุ่ม
- ครูสาธิตขั้นตอนทำแป้งโดว์ ดังนี้
       1. แป้ง 3 ถ้วยตวง
       2.นำเกลือละลายกับน้ำร้อน ½ ถ้วย +สี +น้ำมันพืช 2 ช้อนโต๊ะ
       3. เทส่วนผสมตามข้อสอง ลงแป้งแล้วนวดให้เข้า แล้วนวดให้เป็นเนื้อเดียวกัน
ใช้ :
-นักเรียนทดลองทำแป้งโดว์เป็นกลุ่ม
เชื่อม: 
-ครูนำแป้งโดว์มาให้นักเรียนสัมผัสและสังเกตดู
-ครูและนักเรียนร่วมกันระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับขั้นตอนการทำแป้งโดว์ โดยครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด  ดังนี้
“ ขั้นตอนการทำแป้งโดว์มีกี่ขั้นตอน อย่างไรบ้าง? ”
 “ ขณะที่ใช้มือนวดแป้งรู้สึกอย่างไร?”
“แป้งโดว์มีลักษณะ คล้ายอะไรบ้าง?
 “ ขณะที่ทำสังเกตเห็นอะไรบ้าง?”
 “มีข้อควรระวังในการทำแป้งโดว์อย่างไร? ”
 “มีวิธีการเก็บแป้งโดว์อย่างไร?”
“แป้งโดว์มีประโยชน์อย่างไรบ้าง?
“แป้งโดว์มีอันตรายต่อตัวเราหรือไม่ / สามรถใช้แป้งโดว์แทนอะไรได้บ้าง”
ใช้ :
-นักเรียนทำใบงานแตก  Web  การทดลองทำแป้งโดว์
วันศุกร์  ( 1  ชั่วโมง)
เชื่อม :
-นักเรียนร่วมกันสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้มาทั้งสัปดาห์ ดังนี้
-สรุปชื่อหน่วยการเรียนรู้สิ่งที่รู้แล้และอยากเรียนรู้
ใช้ :
- ปั้นแป้งโดว์เป็นเรื่องราวเมืองของเล่นพร้อมตั้งชื่อให้น่าสนใจ  (งานกลุ่ม)
ภาระงาน
ระดมความคิดในการจัดกลุ่มความสนใจที่นักเรียนอยากเรียนรู้
พูดคุยเกี่ยวกับสิ่งที่ตนเองอยากเรียนรู้และตั้งชื่อหน่วย
-นักเรียนเตรียมกล่องขนาดต่าง ๆ มาโรงเรียนในวันพุธ เพื่อนำมาประดิษฐ์หุ่นยนต์
-นักเรียนเตรียมแป้งเอนกประสงค์ 1ถ้วยตวง / เกลือ/นำมันพืช /สีผสมอาหาร เพื่อมาทดลองทำแป้งโดว์ มาโรงเรียนในวันพฤหัสบดี
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ชิ้นงาน
- ใบงานวาดภาพและเขียนสิ่งที่ตนเองอยากเรียนรู้ และเขียนชื่อหน่วย
-นักเรียนวาดภาพสิ่งที่ตนเองรู้เกี่ยวกับของเล่นคนละ 1 อย่าง
-ประดิษฐ์หุ่นยนต์จากกล่องเป็นกลุ่ม
-ใบงานแตก  Web การทดลองทำแป้งโดว์
- ปั้นดินน้ำมันเป็นเรื่องราวเมืองของเล่นพร้อมตั้งชื่อให้น่าสนใจ  (งานกลุ่ม)

ความรู้ :
- นักเรียนสามารถอธิบายและตั้งคำถามเมื่อแสดงความคิดเห็น เกี่ยวกับสิ่งที่เห็น/ฟัง และบอกสิ่งที่ตนเองรู้ /อยากเรียนรู้ ได้อย่างน่าสนใจ
ทักษะ :
** ทักษะชีวิต
-สามารถ
- เลือกใช้เครื่องมือ เช่น ดินสอ สี กระดาษ ในการสร้างสรรค์ชิ้นงานได้อย่างคุ้มค่า และเหมาะสม
- สามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันและดูแลตนเองได้
** ทักษะการคิด
 - คิดวิเคราะห์ /สังเคราะห์สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการเดินสำรวจและการฟังนิทาน/เล่าเล่าจากประสบการณ์  รวมทั้งสามารถเชื่อมโยงกับชีวิตประจำวันของตนเองได้
-  สามารถอธิบายให้เหตุผลเกี่ยวกับสิ่งที่ตนอยากเรียนรู้ได้
- คิดสร้างสรรค์ชิ้นงานเพื่อนำเสนอให้
ผู้อื่นเข้าใจได้
** ทักษะการอยู่ร่วมกัน
คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์และจัดการปัญหาในการทำงานกลุ่มและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
** ทักษะการสื่อสาร
อธิบายสิ่งที่ตนเอง/กลุ่ม เข้าใจและเรียนรู้ได้อย่างมีเหตุผลและน่าสนใจ
** ทักษะการสังเกต
- สังเกตแปลงผัก  สิ่งมีชีวิตรอบๆบริเวณภายในโรงเรียน
- สังเกตการณ์เปลี่ยนแปลงของสิ่งมีชีวิต
ทักษะการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
สามารถค้นหาข้อมูลจากการสอบถาม ครูผู้ปกครองหรือผู้รู้เกี่ยวกับเรื่องที่ตนเองสนใจ
** ทักษะการอยู่ร่วมกันกับผู้อื่น
คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์และจัดการปัญหาในการทำงานกลุ่ม
คุณลักษณะ :
- เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่น
ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
- มีความรับผิดชอบและมุ่งมั่นในการทำงาน
- กระตือรือร้นในการเรียนรู้
   - มีจิตอาสาในการทำกิจกรรมต่างๆ มีน้ำใจช่วยเหลือ แบ่งปัน 
   - ยินดีและพอใจในสิ่งที่ตนเองมี เคารพสิทธิซึ่งกันและกัน





ภาพกิจกรรม























 





















1 ความคิดเห็น:

  1. วันจันทร์ คุณครูชงด้วยการเล่านิทาน เรื่อง“ของขวัญจากคุณพ่อ” คุณครูตั้งคำถามเชื่อมโยงกระตุ้นการคิดว่า“คุณพ่อประดิษฐ์อะไรเป็นของขวัญให้น้องกล้าในวันเกิด ?” “ถ้านักเรียนเป็นคุณพ่อนักเรียนจะประดิษฐ์อะไรให้น้องกล้า?” “นักเรียนอยากประดิษฐ์ของเล่นเป็นเหมือนคุณพ่อน้องกล้าหรือไม่? นักเรียนร่วมกันระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ตนเองอยากเรียนรู้ และร่วมกันสรุปสิ่งที่อยากเรียนรู้ นักเรียนส่วนมากอยากเรียนเรื่องของเล่น พี่ฟอร์ด / พี่นโม /พี่น้ำ อยากเรียนเกี่ยวกับไดโนเสาร์ นักเรียนวาดภาพสิ่งที่รู้แล้วเกี่ยวกับองเล่น วันอังคารนักเรียนร่วมกันตั้งชื่อหน่วยมีนักเรียนเสนอชื่อ 2 ชื่อคือ ชื่อ”พิพิธภัณฑ์ของเล่น”และ “ของเล่นไทบ้าน” สรุปได้ชื่อหน่วยว่า “พิพิธภัณฑ์ของเล่น” นักเรียนวาดภาพสิ่งที่อยากเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับของเล่น วันพุธ นักเรียนทำของเล่นหุ่นยนต์จากกล่อง นักเรียนมีความตั้งใจมาก เรียนรู้การแก้ปัญหาและวางแผนก่อนการทำงาน รู้จักรับฟังความคิดเห็นของกันและกัน วันพฤหัสบดี นักเรียนทดลองทำแป้งโดว์ นักเรียนตื่นเต้น ให้ความสนใจดีมาก ทุกคนอยากมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม นักเรียนทำงานเป็นกลุ่มเรียนรู้การรอคอยและแบ่งหน้าที่กัน วันศุกร์ นักเรียนสรุปหน่วยการเรียนรู้ด้วยการปั้นแป้งโดว์ นักเรียนสามารถอธิบายเล่าเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับพิพิธภัณฑ์ของเล่นของกลุ่มตนเองได้เยี่ยมมากเลยทีเดียวค่ะ

    ตอบลบ