หน่วย พิพิธภัณฑ์ของเล่น

เป้าหมาย (Understanding Goal)
นักเรียนเห็นคุณค่าของของเล่น /การละเล่น / ธรรมชาติและสิ่งต่างๆรอบตัว อีกทั้งยังสามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้ เช่น การนำเอาวัสดุจากธรรมชาติรอบตัวมาประดิษฐ์เป็นของเล่นได้ พร้อมทั้งรู้จักเลือกเล่น/เล่นของเล่นให้เหมาะสมกับตนเอง เรียนรู้วิธีการเล่นให้ปลอดภัย

Week1

แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้บูรณาการ (Problem  Based  Learning) ( PBL.

หน่วย : “ พิพิธภัณฑ์ของเล่น”

ระดับชั้นอนุบาลภาคเรียนที่ (Quarter 4 )  ปีการศึกษา  2558

เป้าหมายรายสัปดาห์ :  นักเรียนเข้าใจ และสามารถอธิบายเกี่ยวกับสิ่งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิตได้ อีกทั้งยังสามารถบอกเกี่ยวกับสิ่งที่ตนเองอยากเรียนรู้พร้อมให้เหตุผลได้
Week
Input
Process
Output
Outcome
1

11 - 15 .. 59
โจทย์ :
- สร้างแรงบันดาลใจ / สร้างฉันทะในการเรียนรู้
เครื่องมือคิด
Key  Question
- สิ่งมีชีวิตกับสิ่งที่ไม่มีชีวิตมีลักษณะที่เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
?
-ของเล่นเป็นสิ่งมีชีวิตหรือไม่?
- จะสามารถนำอะไรที่อยู่ในโรงเรียนมาทำเป็นของเล่นได้บ้าง?
-จะเล่นของเล่นแต่ละชิ้นอย่างไรให้ปลอดภัย?
- สัตว์ เช่นสุนัขหรือแมวจะเล่นของเล่นเหมือนหรือต่างกับเราอย่างไร?

Blackboard Share :
-ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับของเล่น และ สิ่งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิตที่นักเรียนพบเห็นในโรงเรียน
-ระดมความคิดเกี่ยวกับขั้นตอนการทำ/เล่น กงจักร
Walk  and  Talk
เดินสำรวจรอบบริเวณโรงเรียน/สนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับของเล่นต่าง ๆ ที่พบเจอภายในโรงเรียน
Show and Share :
  - นำเสนอชิ้นงาน
Wall Thinking
 - ติดชิ้นงาน
-ใบงานแตก Web เกี่ยวกับการเล่น  “กงจักร
-ใบงานเขียน Wep   เชื่อมโยงสิ่งมีชีวิต/ไม่มีชีวิต
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
- ครู
- นักเรียน
สื่อและแหล่งเรียนรู้ :
บรรยากาศภายในห้องเรียนและบริเวณรอบโรงเรียน
- นิทานเรื่อง “ของเล่นของคุณตา
- คลิปวีดิโอการ์ตูนเรื่อง
 “โดเรม่อน ตอนเมืองของเล่น ”   
- วัสดุที่ใช้ประดิษฐ์
กงจักร”(ฝาจีบ/เชือก /ค้อน /ตะปู)



วัน จันทร์ (1ชั่วโมง)
ชง :
- นักเรียนดูคลิปวีดิโอการ์ตูนเรื่องโดเรม่อน ตอนเมืองของเล่นเพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้นักเรียนอยากเรียนรู้เรื่องของเล่น
เชื่อม
- ครูและนักเรียนสนทนาเกี่ยวกับเนื้อเรื่องวีดิโอที่ดู โดยครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด   “เกิดอะไรขึ้นกับเมืองของเล่น? ”
  “ดูคลิปการ์ตูนแล้วนักเรียนคิดอย่างไร”
 “ถ้าเป็นนักเรียนจะแก้ปัญหาอย่างไร?”
- ครูเชื่อมโยงประสบการณ์เกี่ยวกับของเล่นนักเรียน โดยครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด  ดังนี้
 “นักเรียนมีของเล่นที่ตนเองรักหรือไม่?
 “นักเรียนจะดูแลของเล่นตัวเองอย่างไร?”
ใช้:
นักเรียนวาดภาพระบายสีของเล่นที่พบเห็นในโรงเรียน
วันอังคาร (1ชั่วโมง)
ชง :
- ครูและนักเรียนเดินสำรวจของเล่นรอบบริเวณโรงเรียนรวมทั้งสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิต  เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้นักเรียนเห็นคุณค่าและอยากเรียนรู้เรื่องของเล่น
เชื่อม :
- ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาเกี่ยวกับของเล่นที่สำรวจพบในบริเวณโรงเรียน รวมถึงสิ่งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิตที่นักเรียนรู้จัก  โดยครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด ดังนี้
  “ในโรงเรียนมีของเล่นอะไรบ้าง ? ”
  “ของเล่นเป็นสิ่งมีชีวิตหรือไม่?/ เพราะอะไร ?
 “สิ่งมีชีวิต และสิงไม่มีชีวิตมีลักษณะอย่างไร?และมีความแตกต่างกันอย่างไร?”
 “สามารถนำอะไรที่อยู่ในโรงเรียนมาทำเป็นของเล่นได้บ้าง?"
" สัตว์ เช่นสุนัข หรือแมวจะเล่นของเล่นเหมือนหรือต่างกับเราอย่างไร?
ใช้:
- นักเรียนทำใบงานแตก web สิ่งที่มีชีวิตกับสิ่งที่ไม่มีชีวิต
** การบ้าน //  นักเรียนเตรียมฝาจีบมาจากบ้านคนละ ฝา
วันพุธ(1ชั่วโมง)
ชง :
- ครูนำของเล่น ”กงจักรจากฝาจีบ”  มาให้นักเรียนสังเกตและสัมผัสดู
 - ครูแนะนำอุปกรณ์การทำของเล่นกงจักร (ฝาจีบ /เชือก /ค้อน /ตะปู /ด้ายไหมพรม / กระดานรองเจาะ) 
เชื่อม : 
-นักเรียนและครูสนทนาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับของเล่น “กงจักร จากนั้นครูใช้คำถามกระตุ้นให้คิด   “นักเรียนเคยเห็นหรือ เล่น  “กงจักรหรือไม่?”
 “ถ้าเราเอากงจักรขณะที่หมุนเร็วๆไปใส่เพื่อนจะเกิดอะไรขึ้น?”  “จะมีวิธีการเล่นอย่างไรให้ปลอดภัย?”
และสาธิตขั้นตอนการทำ/เล่น “กงจักร”  ดังนี้
 1. ทุบฝาจีบให้แบน
  2.เจาะตรงกลาง 2รู ตรงกลางฝาจีบ
   3.ร้อยเชือก/มัด
    4. หมุนฝาจีบให้ด้ายพันกันแล้วดึงเข้า-ออก ให้ตัวกงจักรหมุน
 ใช้ :
- นักเรียนประดิษฐ์ของเล่น “กงจักร
นักเรียนทดลองเล่น “กงจักร
วันพฤหัสบดี(1ชั่วโมง)
ชง  :
ครูเล่านิทานเรื่องของเล่นของคุณตา”  เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้นักเรียนอยากเรียนรู้เรื่องของเล่น
 เชื่อม :
-ครูและนักเรียนสนทนาเกี่ยวกับนิทานที่ฟัง  โดยครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “ของเล่นคุณตามีอะไรบ้าง ?”
 “นักเรียนเคยเล่นของเล่นหรือทำของเล่นอะไรบ้าง?”
 “ทำไมคุณตาถึงรักของเล่นชิ้นนั้น?”
ใช้ :
- ครูให้นักเรียนเล่น กงจักรฝาจีบ”  
เชื่อม :
-ครูและนักเรียนระดมความคิดเกี่ยวกับการทำ/เล่นกงจักร โดยครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด ดังนี้
 “อุปกรณ์ที่ใช้ทำมีอะไรบ้าง?” 
 “มีขั้นตอนการทำ อย่างไร?” 
ทำไมต้องทุบฝาจีบให้แบนๆ?”
ถ้าเราไม่ทุบนักเรียนคิดว่าจะเป็นอย่างไร?
เชือกที่ใช้เป็นเชือกอะไรและเป็นเชือกชนิดอื่นได้หรือไม่? /เพราะอะไร?”  “ทำไมกงจักรจึงหมุนได้?”  “รู้สึกอย่างไรขณะดึง”
การดึงมีผลต่อการหมุนของฝาจีบหรือไม่/อย่างไร?”
 “การเล่น “กงจักร”มีประโยชน์อย่างไร?”
 ใช้ :
นักเรียนแตก Web ขั้นตอนการทำและเล่น “กงจักร”
วันศุกร์(1ชั่วโมง)
เชื่อม:
- ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาทบทวนกิจกรรมที่ผ่านมาทั้งสัปดาห์และแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นในการทำกิจกรรมร่วมกัน
- Show and Share  นักเรียนนำเสนอชิ้นงานที่ได้ทำเกี่ยวกับสิ่งที่อยากเรียนรู้ให้เพื่อนฟังเป็นรายบุคคล
ภาระงาน
เดินสำรวจและพูดคุยเกี่ยวกับสิ่งที่เห็นรอบๆโรงเรียน  เรียนรู้ของเล่นเพื่อเชื่อมโยงสิ่งมีชีวิต/ไม่มีชีวิต
-สนทนาแลกเปลี่ยนประสบการณ์เกี่ยวกับของเล่น
 - นักเรียนเตรียมฝาจีบมาจากบ้านคนละ 1 ฝา
- Show and Share  นำเสนอชิ้นงานและสิ่งที่เรียนรู้ทั้งสัปดาห์
- นักเรียนทดลองเล่น กงจักรฝาน้ำอัดลม
-สรุปกิจกรรมการเรียนรู้ตลอดทั้งสัปดาห์

ชิ้นงาน
วาดภาพระบายสีของเล่นที่พบเห็นในโรงเรียน
-ประดิษฐ์ของเล่น “กงจักร”  
- ใบงานเขียน Wep   เชื่อมโยงสิ่งมีชีวิต/ไม่มีชีวิต
-ใบงานแตก Web การทำและเล่น   
  “กงจักรฝาจีบ

ความรู้ :
- นักเรียนเข้าใจ และสามารถอธิบายเกี่ยวกับสิ่งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิตได้ อีกทั้งยังสามารถบอกเกี่ยวกับสิ่งที่ตนเองอยากเรียนรู้พร้อมให้เหตุผลได้
ทักษะ :
** ทักษะชีวิต
-รู้จักสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิตรอบตัวและนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้หลากหลาย
- เลือกใช้เครื่องมือ เช่น ดินสอ สี กระดาษ ในการสร้างสรรค์ชิ้นงานได้อย่างคุ้มค่า และเหมาะสม
- สามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันและดูแลตนเองได้
** ทักษะการคิด
- การคิดวิเคราะห์ /สังเคราะห์ บอกความเหมือนความแตกต่างของสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิต
** ทักษะการสื่อสาร
อธิบายสิ่งที่ตนเอง เข้าใจและเรียนรู้ได้อย่างมีเหตุผลและน่าสนใจ
** ทักษะการสังเกต
 - สังเกตสิ่งต่างๆรอบตัวทั้งสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิต  และสามารถเปรียบเทียบความเหมือนและความแตกต่างของสิ่งที่พบได้
** ทักษะการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
สามารถค้นหาข้อมูลจากการสอบถาม ครูผู้ปกครองหรือผู้รู้เกี่ยวกับเรื่องที่ตนเองสนใจ
**ทักษะการอยู่ร่วมกันกับผู้อื่น
เกิดทักษะการคิดวิเคราะห์ /สังเคราะห์และจัดการปัญหาในการทำงานกลุ่ม
คุณลักษณะ
- เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่น
ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
- มีความรับผิดชอบและมุ่งมั่นในการทำงาน
- กระตือรือร้นในการเรียนรู้
   - มีจิตอาสาในการทำกิจกรรมต่างๆ มีน้ำใจช่วยเหลือ แบ่งปัน 
   - ยินดีและพอใจในสิ่งที่ตนเองมี เคารพสิทธิซึ่งกันและกัน

























                                                                                                                                                                                                                                                    ภาพกิจกรรม                                                                                วันจันทร์   สร้างแรงดูคลิปการ์ตูนโดเรมอน "ตอนเมืองของเล่น"












วันอังคาร  สำรวจสิ่งมีชีวิต/ไม่มีชีวิต ที่สามารถนำมาทำเป็นของเล่นได้  รอบบริเวณโรงเรียน











วันพุธ ทำของเล่น"กงจักร"
















วันพฤหัสบดี สรุปขั้นตอนทำและปัญหา"กงจักรฝาจีบ"









วันศุกร์   สรุปองค์ความรู้ที่เรียนมาทั้งสัปดาห์









ภาพชิ้นงาน























1 ความคิดเห็น:

  1. บันทึกหลังการสอน PBL หน่วย “ของเล่น”

    ในสัปดาห์แรกของ Quarter 4 / 58 พี่ๆ อ.2 ได้เริ่มต้นการเรียนรู้ในวิชาบูรณาการ(PBL) ซึ่งใน Q.4/58 พี่อนุบาล 2 เรียนเกี่ยวกับเรื่อง“ของเล่น” ครูผู้สอนได้สร้างแรงด้วยการให้นักเรียนดูวิดีโอการ์ตูนเรื่องโดเรมอน “ตอนเมืองของเล่น” นักเรียนให้ความสนใจและสามารถบอกเกี่ยวกับเนื้อเรื่องทีดูได้อีกทั้งสามารถเชื่อมโยงเข้าชีวิตประจำวันได้ เช่น พี่บอสเล่าว่า “ครูครับตอนผมเล่นของเล่นแล้วไม่เก็บของเล่นก็หายเลยครับ” / จากนั้นนักเรียนช่วยกันระบายสี ภาพวาดของเล่นเพื่อจัดบรรยากาศในห้องเรียน วันอังคารครูพานักเรียนเดินสำรวจของเล่นรวมถึงสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิตที่อยู่รอบบริเวณโรงเรียน เพื่อเชื่อมโยงหน่วยการเรียนรู้ นักเรียนสามารถบอกสิ่งที่มีชีวิต ไม่มีชีวิตและของเล่นได้ พี่นโม/ พี่ฟอร์ด /พี่แก้ม /พี่ดิน/ พี่กุ้งและพี่โชว์บอกได้ว่าสิ่งมีชีวิตสามารถเคลื่อนไหวได้เอง มีการเจริญเติบโต และพี่เป้/พี่ป๋อ/พี่ชิน/พี่แป้ง/พี่น้ำ/บอกได้ว่าของเล่นเป็นสิ่งไม่มีชีวิตเพราะไม่ต้องกินอาหารไม่สามารถเคลื่อนไหวเองได้ และบอกได้ว่าสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิตที่อยู่ในโรงเรียนสามารถนำไปทำเป็นของเล่นอะไรได้บ้าง เช่น พี่ฟอร์ด : ครูครับต้นไผ่เอาไปทำบั้งโป๊ะได้ ครับ พี่แก้ม: เอาหินไปเล่นหมากเก็บได้ค่ะ พี่มินทร์/พี่หยก :เอาทรายไปเล่นขายขนมครกได้ค่ะ พี่โอบอ้อม : เอาไม้ไผ่ไปทำขาโถกเถกได้ค่ะ พี่เป้ : เอาขวดไปทำคลื่นทะเลด้ไครับ นักเรียนได้ทดลองทำของเล่น “กงจักรจากฝาจีบ (ฝาน้ำอัดลม) นักเรียนให้ความสนใจกระตือรือร้น และเรียนรู้การแก้ปัญหาในการเล่น"กงจักร" และร่วมกันสรุปองค์ความรู้เกี่ยวกับสิ่งที่เรียนรู้มาทั้งสัปดาห์เป็นกลุ่มได้ดีเยี่ยมค่ะ

    ตอบลบ